การวางแผนด้านพื้นที่และโครงข่ายการขนส่งเพื่อลดต้นทุนโลจิสติกส์ของ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วีรพัฒน์ เศรษฐ์สมบูรณ์, ภูวนาท แสนนา, วรรธนะ กระภูพันธ์, สนั่น เถาชารี
>>Download ebook<<
ได้ทำการรวบรวมข้อมูลปริมาณผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกอ้อยของเกษตรกรรายย่อยระดับตำบลในเขต
พื้นที่ 5 จังหวัดได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา กาฬสินธุ์ และอุดรธานี หลังจากนั้นได้สร้างรูป
แบบจำลองโครงข่ายการขนส่งเปรียบเทียบหาปริมาณอ้อยส่วนเกินและปริมาณอ้อยส่วนขาดกับข้อมูลจริงของ
ปริมาณอ้อยที่เข้าสู่โรงงานน้ำตาลในพื้นที่กับพิกัดตำบล ตลอดจนได้เสนอแนวทางการลดต้นทุนทางด้านโลจิ
สติกส์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากผลการศึกษาพบว่าโรงงานน้ำตาลที่
มีรูปแบบจำลองการขนส่งที่มากกว่าปริมาณอ้อยที่เข้าโรงงานน้ำตาลได้แก่ โรงงานน้ำตาลอีสาน โรงงานน้ำตาล
เกษตรผล โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี โรงงานน้ำตาลขอนแก่น และโรงงานน้ำตาลอ่างเวียน สามารถอธิบายได้ว่ามี
เกษตรกรจำนวนหนึ่งที่รับภาระต้นทุนการขนส่งหรือต้นทุนโลจิสติกส์ เพราะไม่ได้ขนส่งอ้อยเข้าสู่โรงงานโดยใช้
เส้นทางที่ใกล้ที่สุดจากแบบจำลองการขนส่งโดยต้องขนส่งอ้อยนอกเส้นทางเดินไปที่โรงงานน้ำตาลอื่น และโรงงาน
น้ำตาลที่มีรูปแบบจำลองการขนส่งที่น้อยกว่าปริมาณอ้อยจริงที่เข้าโรงงานน้ำตาล ได้แก่ โรงงานน้ำตาลมิตรผล
(กาฬสินธุ์) โรงงานน้ำตาลโคราช โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง โรงงานน้ำตาลครบุรี โรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม และ
โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ เนื่องจากโรงงานน้ำตาลดังกล่าว มีที่ตั้งโรงงานอยู่ใกล้เคียงกับจังหวัดอื่นๆ จึงทำให้ปริมาณ
อ้อยที่เกิดจากการจำลองการขนส่ง มีปริมาณที่น้อยกว่าปริมาณอ้อยจริง และปริมาณอ้อยบางส่วนที่ควรจะเข้า
โรงงานแต่ไปเข้าโรงงานที่มีระยะทางที่ใกล้กว่าในโรงงานน้ำตาลจากการจำลองแบบการขนส่งบนโครงข่ายถนน
ดังนั้นจึงควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรมีการเพาะปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ในพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกอ้อยน้อยและมี
ระยะทางการขนส่งค่อนข้างไกล ซึ่งจะทำให้มีผลกำไรที่ทำให้เกิดต้นทุนโลจิสติกส์ที่เกินกว่าจุดคุ้มทุน และเพื่อลด
ปริมาณของการขนส่งอ้อยบนจุดคอขวด ลดความชำรุดเสียหายของถนน ไหล่ทาง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทย