เกี่ยวกับสมาพันธ์

ความเป็นมาของสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย

เริ่มก่อตั้งขึ้นจากความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของโลจิสติกส์ต่อการพัฒนาศักยภาพของประเทศ และมีเจตนารมย์ที่ต้องการยกระดับคุณภาพโลจิสติกส์ทั้งระบบให้มีความทัดเทียม และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ จึงได้รวมกลุ่มจัดตั้งในชื่อ “สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย” ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารงานโดย สมาคมไทยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน มีคุณเกริกกล้า สนธิมาศ ดำรงตำแหน่งประธานสมาพันธ์ฯ ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 คณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ซึ่งมี ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานได้มีมติให้จัดตั้งคณะทำงาน (Task Force) จำนวน 4 คณะเพื่อรับผิดชอบงานด้านโลจิสติกส์ 4ด้าน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน, ด้านฐานข้อมูล, ด้านการเชื่อมโยงข้อมูล และด้านการพัฒนาบุคลากร และในเดือนพฤศจิกายน 2547 ได้มีการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ซึ่งทางหอการค้าไทย, สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ได้ร่วมกันนำเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานภาคเอกชนซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศให้มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากภาคเอกชน รวมทั้งสิ้น 16 องค์กรอันได้แก่
1) สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
2) สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
3) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
4) สมาคมธนาคารไทย
5) สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
6) สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพฯ
7) สมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย
8) สมาคมผู้ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์
9) สมาคมเจ้าของเรือไทย
10) สมาคมตัวแทนออกของรับอนุญาตไทย
11) สมาคมขนส่งสินค้า
12) สมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย
13) สมาคมไทยโลจิสติกส์และการผลิต
14) มูลนิธิโลจิสติกส์และการขนส่ง (ไทย)
15) สมาคมบริการงานจัดซื้อและซัพพลายเชนแห่งประเทศไทย
16) สมาคมการค้าธุรกิจการบินขนส่งสินค้า