สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย |
Friday, May 3, 2024
Home Blog Page 3

โครงการการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนนักศึกษาให้มีสมรรถนะในวิชาโลจิสติกส์เพื่อยกระดับอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.)​ กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ “Cold Chain Logistics Competency”

10-08-63

โครงการการพัฒนาสมรรถนะนักเรียนนักศึกษาให้มีสมรรถนะในวิชาโลจิสติกส์เพื่อยกระดับอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ “Cold Chain Logistics Competency” โดยมีนายสมชาย บุตรสะ รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ  กล่าวรายงานการอบรม และผู้เข้ารับการอบรมจาก ๑๔ สถานศึกษา ดังนี้ วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุดรธานี   วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์  วิทยาลัยอาชีวศึกษานครปฐม  วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุรินทร์ วิทยาลัยเทคนิคสุพรรณบุรี วิทยาลัยเทคนิคลำพูน วิทยาลัยเทคนิคนครนายก วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ วิทยาลัยพณิชยการอินทราชัย วิทยาลัยพณิชยการบึงพระพิษณุโลก วิทยาลัยการอาชีพนวมินทราชินีมุกดาหาร วิทยาลัยเทคโนโลยีการต่อเรือนครศรีธรรมราช วิทยาลัยเทคโนโลยีวิมลบริหารธุรกิจ  ซึ่งการอบรมครั้งนี้ดำเนินการจัดโดยคณะอนุกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา(อ.กรอ.อศ.) กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์ ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมวิทยบริการ วิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์

ขอขอบพระคุณท่านวิทยากรทุกท่าน

๑.ดร.ชุติมาพร หมอนใหญ่ ผู้อำนวยการสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย

๒.นายจิราวุธ ชอุ่มวณิชวัฒนา หัวหน้าผู้ตรวจประเมินมาตรฐานคุณภาพการบริการขนส่งด้วยรถบรรทุก (Q Mark)

๓. นายเจษฏา ศรีประทักษ์ ผู้จัดการบริษัท ตาตง จำกัด

๔. นายมุนินทร์ ลพบุรี ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์กระจายสินค้าซีพีเอฟ อ.บางน้ำเปรี้ยว

๕. นายอนุชิต เพชรกำแพง เลขาธิการสมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย

#ขอขอบพระคุณ ทางสำนักการขนส่งสินค้า กรมการขนส่งทางบกในการสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

เปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะLogistics ตามมาตรฐาน SCM/ITC

5-7/8/63

คุณวัลภา ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยได้รับเชิญเป็นประธานพิธีเปิดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะLogistics ตามมาตรฐาน SCM/ITC ณ ห้องกิ่งทอง ชั้น2 รร เอเซีย กทม. /โดย ดร.กฤษฏ์ ฉันทจ

Ms.Wallapa Stirachavarn, a President of Thai Federation on Logistics was cordially invited to address an Opening Ceremony of

Vocational Education International Standards for Logistics and Supply Chain skills Development Program at 2nd fl.King Thong Room, ASIA Hotel.

เข้าร่วมเป็นแขกรับเชิญรายการสัมภาษณ์ในรายการ คิดการณ์ใหม่ จากสถานีไทยพีบีเอส

26-7-63 

“ภาพประทับใจ”คุณวัลภา สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทยได้รับเชิญจากทีมบริษัท วันนี้วันดี โปรดักชั่น จำกัด เข้าร่วมเป็นแขกรับเชิญรายการสัมภาษณ์ในรายการ คิดการณ์ใหม่ จากสถานีไทยพีบีเอส ซึ่งเป็นเนื้อหารายการเทป “อุตสาหกรรมโลจิสติกส์” ร่วม กับแขกรับเชิญ 2ท่านคือ ดร.ชุมพล สายเชื้อ นายกสมาคมTTLA และคุณพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กระทรวงพาณิชย์โดยการถ่ายทำบันทึกเทป ณ Studio  อาคาร A สถานีไทยพีบีเอส

#Hot Issue! ในบริบทของการเตรียมตัวด้วย New normal หลัง Covid-19

 #สถานการณ์ของอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ไทย ณ ปัจจุบันและอนาคต

#แนวโน้มในการใช้บริการโลจิสติกส์ของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร?

ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ (Industry Competency Board: Logistics)

17/6/63 ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการพัฒนากำลังคนด้านโลจิสติกส์ (Industry Competency Board: Logistics) ณ ห้องราชพฤกษ์ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน)

ตึกเพิร์ลแบงก์ค็อก กรุงเทพ

#หลังการVote คะแนน เป็นเอกฉันท์ อ.สายัณห์ จันทรวิภาสวงศ์ ดำรงตำแหน่งประธานฯและอ.พจมาน ภาษวัธน์ ดำรงตำแหน่ง รองประธานฯ

#Congratulation

#ขอขอบคุณสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพที่ขับเคลื่อนกำลังด้านโลจิสติกส์อย่างต่อเนื่อง(Continuous Development)

#keep walking

#Logisticsforall

ประชุมการประชุมคณะอนุกรรมการรร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ)

17-7-63

คุณวัลภา สถิรชวาลประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย/ประธาน อ.กรอ.อศ.เป็นประธานที่ประชุมการประชุมคณะอนุกรรมการรร่วมภาครัฐและเอกชน เพื่อผลิตและพัฒนา กําลังคนอาชีวศึกษา (อ.กรอ.อศ) กลุ่มอาชีพโลจิสติกส์และซัพพลายเชน@รร ทาวน์อินทาว์น เพื่อสรุปผลงานและกิจกรรมที่ผ่านมาร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาทั่วประเทศ

#อาชีวะชนคนสร้างชาติ

กระทรวงพาณิชย์ ประกาศผลผู้ชนะรางวัล ELMA 2020 สุดยอดผู้ให้บริการที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) โดยสำนักพัฒนาและส่งเสริมธุรกิจบริการ ประกาศรางวัลผู้ชนะการประกวดรางวัลผู้ประกอบการที่มีความเป็นเลิศด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ หรือ ELMA (Excellent Logistics Management Award) ประจำปี 2563

การประกวดรางวัล ELMA จัดขึ้นเพื่อผลักดันผู้ประกอบการโลจิสติกส์ไทย พัฒนาศักยภาพองค์กรให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมระบบสากล และสามารถแข่งขันในเวทีการค้านานาชาติได้ในอนาคต โดยผู้ประกอบการที่ได้รับรางวัล ELMA 2020 จะต้องผ่านการตรวจประเมินคัดเลือกจากคณะกรรมการตัดสินด้านโลจิสติกส์ชั้นนำของประเทศ และจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน สมาพันธ์ สมาคมที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา และหน่วยงานอิสระด้านการเงิน โดยมีการประเมินทั้งหมด 3 รอบ ได้แก่ รอบที่ 1 การพิจารณารายงาน (Report Assessment)  รอบที่ 2  การพิจารณาการนำเสนอองค์กรและการตอบข้อซักถาม (Presentation Assessment) และรอบที่ 3 การตรวจเยี่ยมสถานประกอบการ (On – Site Assessment)สำหรับบริษัทที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน และได้รับคัดเลือกรับรางวัล ELMA ประจำปี 2563 จำนวน 3 บริษัท ได้แก่


บริษัท วี.คาร์โก จำกัด สาขาผู้ให้บริการขนส่ง (Transportation Services) บริษัทคนไทยที่มีประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจด้านการให้บริการขนส่งสินค้ามาเป็นระยะเวลานาน มีการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการดำเนินงาน (transportation Management System: TMS) ที่สามารถตรวจสอบการส่งสินค้าได้อย่างแม่นยำแบบ Real time (Real-time Tracking) ตลอดจนสามารถวางแผนและการจัดเส้นทาง มีระบบควบคุมการเก็บเงินปลายทาง (Cash on Delivery: COD) มีระบบ Vehicle Routing Planning: VRP เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน บริษัทมีการวางแผนการตลาดเชิงรุก รวมถึงแผนการลงทุน

บริษัท รักชัยห้องเย็น จำกัด สาขาผู้ให้บริการคลังสินค้า (Warehousing Services) บริษัทมีการบริหารจัดการที่ดีเยี่ยมในด้าน Operation มีการจัดการด้านคลังสินค้าที่มีประสิทธิภาพ นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทางบริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการดำเนินงาน ทำให้สามารถดูข้อมูลภายในคลังสินค้าแบบ Real Time และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลถึงกัน สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยการเพิ่มการให้บริการในรูปแบบ Express way One Stop Services รวมถึงบริษัทมีการวางแผนงานในอนาคตที่ชัดเจน

บริษัท เจดับเบิ้ลยูดี แปซิฟิค จำกัด สาขาผู้ให้บริการคลังสินค้า (Warehousing Services) มีการพัฒนาระบบ Cold Chain Management System (CCMS) ในการใช้งาน โดยการนำ Business intelligence เข้ามาประยุกต์กับระบบ CCMS เพื่อใช้นำเสนอและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการพัฒนาระบบกับลูกค้าเพื่อการโอนถ่ายข้อมูลซึ่งกันโดยการใช้ระบบ CCMS Atlas มีการปรับปรุงห้องเก็บสินค้าจาก STACKING RACK  เป็น MOBILE  PALLET เพื่อตอบสนองการดำเนินการด้านการจัดเก็บสินค้า เพิ่มความรวดเร็วความถูกต้องแม่นยำและลดเวลาในการรื้อหรือค้นหาสินค้า บริษัทมีการปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง มีความยืดหยุ่นในการให้บริการสามารถตอบสนองความต้องการได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

งานมอบรางวัล ELMA 2020 จะจัดขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม 2563 นี้ ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดตามการประกวดรางวัล ELMA 2020 http://www.tradelogistics.go.th หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 092-259-0953 Line: @elmaaward Email: elmaaward@gmail.com

ขอเชิญสมัครร่วมงานแสดงสินค้าโลจิสติกส์ TILOG – LOGISTIX 2020

เรียน   ผู้ประกอบการ 

เนื่องด้วยสำนักธุรกิจบริการและโลจิสติกส์การค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  จัดงานแสดงสินค้าโลจิสติกส์ TILOG – LOGISTIX 2020 วันที่ 26 – 28 สิงหาคม 2563 ณ  อาคาร 98 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ซึ่งการจัดงานในปีนี้คาดว่าจะได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมงานและผู้เข้าชมงานมากยิ่งขึ้น อันเนื่องมาจากกระแสตื่นตัวและเห็นความสำคัญของระบบโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานจากผู้ประกอบการในทุกกลุ่มอุตสาหกรรม 

                สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย จึงขอเรียนเชิญท่านสมัครเข้าร่วมงานเพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจ ประชาสัมพันธ์องค์กร สร้างเครือข่ายธุรกิจ เปิดตัวสินค้า เทคโนโลยี หรือ บริการใหม่ๆ ของท่าน ภายในงานแสดงสินค้าโลจิสติกส์ 2563 (TILOG – LOGISTIX 2020)  

อัตราค่าสมัคร

ราคาพิเศษ  Early Bird

– พื้นที่เปล่า ขนาด 12 ตรม. (4 x 3 เมตร ) ราคา 15,000 บาท 

หมดเขตรับสมัคร  30 เมษายน 2563

 ราคาปกติ

– พื้นที่เปล่า ขนาด 12 ตรม. (4 x 3 เมตร ) ราคา 18,000 บาท 

หมดเขตรับสมัคร  15 มิถุนายน 2563

 หมายเหตุ

  – ผู้ที่มีความประสงค์จองพื้นที่เปล่า ต้องจองขั้นต่ำ 2 คูหา 

 – พื้นที่มีจำนวนจำกัด

หมายเหตุ   ดาวน์โหลดเอกสารแสดงความจำนง ตามไฟล์แนบด้านล่าง 

กรอกข้อมูลในใบสมัคร แล้วส่งกลับมาที่ Romnalin.k@gmail.com

 สอบถามรายละเอียด และจองคูหา  ติดต่อ  คุณหนึ่ง  083-2677848   Line id: nueng_ka

 Email :    romnalin.k@gmail.com      

Website : www.thailog.org

สมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย

ร่วมประชุมเพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการพัฒนาการส่งออกข้าวเหนียวมะม่วงไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบติดตัวผู้โดยสาร

วันที่  3 มกราคม 2563 ช่วงเช้า คุณวัลภา สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย ร่วมทำบุญใส่บาตรอาหารแห้งกับทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์/ผู้บริหาร/ท่านที่ปรึกษาฯเนื่องในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2563 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ณ หน้าหอประชุม
เวลา 13.30 น. นายอำพันธุ์  เวฬุตันติ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะทำงานโครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เกษตรอุตสาหกรรม ครั้งที่  1/2563 โดยมี นางพิรมล  เจริญเผ่า ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ นางสาวปฐมาภรณ์  อุสาหะ ผู้แทนสำนักงานมาตราฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ นายไกสฤษดิ์  พูนพาณิชย์ ผู้แทนกรมประมง นางสาวพัชรินทร์  ธนกุลเศรษฐ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมการเกษตร นางสาววัลภา  สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ไทย นางสาวภิรมณ  เจริญศรี ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร  นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร นางสาววิภาสินี  วังทะพันธ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ นางสาวกัลชิญา กาชเล้า ผู้แทนกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ นายเจษฎา  ถาวรศักดิ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม นายสมศักดิ์  เกื้อกิจ ผู้แทนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด(มหาชน) เข้าร่วมประชุมเพื่อพิจารณาการดำเนินโครงการพัฒนาการส่งออกข้าวเหนียวมะม่วงไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบติดตัวผู้โดยสาร มีหัวข้อสำคัญดังนี้  1. เงื่อนไขกฎระเบียบการนำเข้า ข้าวเหนียวมะม่วงเข้าไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน แบบติดตัวผู้โดยสาร 2. แนวทางปฏิบัติการออกใบรับรองสุขอนามัยพืชสำหรับมะม่วงไปยังสาธารณประชาชนจีน 3. แผนการพัฒนาระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชแบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าเกษตรไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน 4. การผลักดันโครงการพัฒนาการส่งออกข้าวเหนียวมะม่วงไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนแบบติดตัวผู้โดยสาร ณ ห้องประชุม 134 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  07-01-2563 คุณวัลภา สถิรชวาล ประธานสมาพันธ์โลจสติกส์ไทยได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การเกษตรครั้งที่ 3/2563 ณ ห้องประชุม 134-135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กองนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร 

สค. มอบรางวัล 3 ผู้ประกอบการคว้า ELMA 2019 พัฒนาองค์กรและบริการโลจิสติกส์ สู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล

DITP grants ELMA 2019 to 3 winners

for the achievement of their world-class logistics management practices

The Department of International Trade Promotion (DITP), Ministry of Commerce granted the Excellent Logistics Management Award 2019 or ELMA 2019 to “JPK Cold Storage Company Limited”, “Leo Global Logistics Public Company Limited”, and “ThaiSomdej Service Company Limited” for demonstrating their world-class logistics management practices.

Miss Banjongjitt Angsusingh, Director General of the Department of International Trade Promotion, revealed that DITP had organized the award presentation ceremony of the Excellent Logistics Management Award 2019 (ELMA 2019) for the 3 winners which were 1. JPK Cold Storage Company Limited in Warehousing Services, 2. Leo Global Logistics Public Company Limited inInternational Freight Forwarding Services, 3. ThaiSomdej Service Company Limited in Customs Brokerage Services

“DITP has been granting this Excellent Logistics Management Award (ELMA) to entrepreneurs for 13 years now. The award is aimed at stimulating Thai logistics service providers to improve their competitiveness in logistics management in order to achieve sustainable success in service excellence and be recognized internationally.” said Miss Banjongjitt

Mr. Jitchai Nimitpanya, Chief Executive Officer of JPK Cold Storage Company Limited, a professional service provider with over 6 years of experience for cold storage, temperature-controlled warehousing services, chilled and frozen storage, and duty-free warehouses, said “We are honored to have received this prestigious award and thankful for the valuable advice and recommendations from the judging committee which we can leverage on and become more competitive globally. One of our key strengths we believe has earned us this award is the development of our Cold Chain Management System or CCMS. CCMS is a single platform which seamlessly integrates every work function concerning our free-zone warehousing and cold storage with temperature ranging from -40 to +25 degrees Celsius. CCMS allows us to record any movement of all goods through barcoding system and radio-frequency identification (RFID) and track the current status of the goods in real-time minimizing possible errors and reducing manpower. The design of the system was to meet every type of storage needs for all customers.”

            Mr. Kettivit Sittisoontornwong, Chief Executive Officer/Founder of LEO Global Logistics Public Company Limited, one of Thailand’s leading total logistics service providers with over 29 years of experience offering worldwide service coverage, stated that, “LEO Global, who received ELMA in 2016, again decided to apply for this year’s award and as a result has been selected as the winner of ELMA 2019 in International Freight Forwarding Services category. Winning this distinguished award reflects our service excellence, boosts the company’s competitive advantage, and increases customer confidence.We believe that the continuous development of our in-house Cyber Freight Software Package (CSP) program is one of our company’s key strengths. In the past year, we developed our new in-house mobile application called “Book LEOY” allowing our customers to book our delivery services via their smartphones and tablets. This also results in a long-term cost reduction and a significant workload reduction for employees as booking process is easier and more convenient for our customers.”

Mr. Visarn Chansate, Managing Director of ThaiSomdej Service Company Limited, a Customs Brokerage Service Provider with over 49 years of experience stated that, “Last year, ThaiSomdej Service won ELMA 2018 in Customs Brokerage Services category. And for this 2nd consecutive year applying for ELMA, a prestigious award which is recognized both locally and internationally, we are honored to have been selected as an ELMA 2019 winner. Since 2018, we have leveraged our strengths from last year’s assessment and applied those valuable advice and recommendations from the committee to improve the company’s operations and management. While this year we have developed a new application called “Track & Trace” offering real-time status update with online accessibility. This program is mainly designed for our employees to be able to work more conveniently, quickly, and precisely resulting in prompt and accurate customs clearance and delivery.”

ELMA 2019 is categorized into 4 areas which are: (1) Transportation Services (2) Warehousing Services (3) International Freight Forwarding and Customs Brokerage Services (4) Third Party Logistics Services: 3PL.

6 กูรูโลจิสติกส์ระดับโลกแลกเปลี่ยนความรู้ในงาน Trade Logistics Symposium 2019

6 กูรูโลจิสติกส์ระดับโลกแลกเปลี่ยนความรู้ในงาน Trade Logistics Symposium 2019

แนะวิธีพลิกโฉมองค์กรและทำงานร่วมกัน 

เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ปัจจุบัน โลกของเราได้เข้าสู่ยุค Disruptive Technology ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิม  ทำให้รูปแบบธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหน่วยงานที่มีบทบาทในการพัฒนาผู้ให้บริการโลจิสติกส์ มีเป้าหมายที่จะเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการโลจิสติกส์ของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก จึงได้จัดงาน Trade Logistics Symposium 2019 ภายใต้หัวข้อ Transform and Collaborate towards Greater Success โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์จากองค์กรระดับโลกมาแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ และผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งข้อมูลจากการบรรยายของวิทยากรแต่ละท่านนับว่ามีประโยชน์อย่างมาก

การสัมมนาในภาคเช้ามีวิทยากรบรรยาย 3 ท่าน เริ่มจาก “นายเอ็ดวิน ฟาน โพเอลเจอร์” รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหารงานสารสนเทศ ลินฟอกซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป ผู้ให้บริการโลจิสติกส์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย บรรยายเรื่อง การใช้ประโยชน์จาก IoT เพื่อนำเสนอข้อมูลที่มีความก้าวหน้าด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ และสารสนเทศด้านมาตรฐานคุณภาพ โดยกล่าวว่า การปรับองค์กรไปสู่ Digitization ผู้นำองค์กรจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีคิด ตระหนักว่าไอทีคือสิ่งสำคัญ เพราะไอทีจะมาสร้างคุณค่าใหม่ๆ ทำให้องค์กรเติบโตขึ้น และสามารถเติบโตอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ ผู้นำองค์กรจะต้องทราบว่าธุรกิจของตนจะมุ่งไปทางไหน และจะมีวิธีนำไอทีมาใช้อย่างไร มีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เกี่ยวข้องกับแผนกไหน แต่ละแผนกจะมีการประสานงานร่วมมือกันอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือองค์กรจะต้องเรียนรู้องค์ความรู้และทักษะใหม่ๆ ที่จะนำมาใช้พัฒนาองค์กรให้เป็น Digitization ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในวงการโลจิสติกส์ กระบวนการทำธุรกิจ การเงิน ทรัพยากรมนุษย์ เมื่อนำไอทีมาใช้แล้ว อาจทำให้หลายคนกังวลว่าจะตกงาน เนื่องจากมีการคาดการณ์ว่าปี 2030 จะมีคนตกงานจากจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้กว่า 2,000 ล้านคน ดังนั้นสิ่งที่บุคลากรจะต้องทำคือการปรับทักษะของตนเองให้มีความสามารถด้านอื่นเพิ่มขึ้น 

นายเอ็ดวินกล่าวเพิ่มเติมถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีที่นำมาวิเคราะห์ข้อมูลว่าจะทำให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ในระบบคลังสินค้าที่มีการนำระบบ dash board มาบริการลูกค้าจะทำให้เห็นภาพรวม และตัดสินใจได้ดี แต่สิ่งที่ต้องระวังคือความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ซึ่งองค์กรควรมีมาตรการที่จะสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า เช่น มีคู่มือและแนวทางปฏิบัติ 

สำหรับวิทยากรท่านต่อมา คือ “นายคัทสึฮิโกะ อุเมะทสึ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ยามาโตะโฮลดิ้ง และประธาน ยามาโตะ โกลบอลโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการจัดส่งอันดับหนึ่งของญี่ปุ่น มาแลกเปลี่ยนความรู้หัวข้อ การขนส่งสินค้าข้ามแดนและตลาดเกิดใหม่ : ความสำคัญและความซับซ้อนที่เกี่ยวข้องกับอีคอมเมิร์ซ กล่าวถึงสถิติที่น่าสนใจว่า การค้าข้ามแดนแบบอีคอมเมิร์ซทั่วโลกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คาดการณ์ว่าในปี 2020 จะมีมูลค่าถึง 9,940 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งจากการขยายตัวของตลาดอีคอมเมิร์ซและปริมาณการสั่งซื้อสินค้าอาหารออนไลน์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้บริการส่งสินค้าที่ต้องเก็บในที่เย็นเป็นตลาดที่มีศักยภาพ ซึ่งธุรกิจนี้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นมากในประเทศจีน เกาหลี และญี่ปุ่น อย่างไรก็ตาม มีข้อควรระวังในการให้บริการส่งสินค้าด้วยความเย็น ซึ่งสามารถเกิดความเสียหายได้หากใช้เครื่องวัดความเย็นที่ไม่แม่นยำ หรือใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ และปล่อยให้สินค้าอยู่นอกพื้นที่ความเย็นเป็นเวลานาน 

นายคัทสึฮิโกะได้กล่าวถึงการดำเนินธุรกิจของยามาโตะกรุ๊ปว่า ยามาโตะมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการ Global Food Supply Chain โดยให้ความสำคัญกับมาตรฐานการส่งสินค้า การควบคุมคุณภาพสินค้า และทรัพย์สินทางปัญญา นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่จะเป็นบริษัทชั้นนำด้านการส่งสินค้า Cold Chain ในธุรกิจอีคอมเมิรซ โดยพยายามสร้างมาตรฐานเกี่ยวกับการจัดส่งสินค้า Cold Chain เช่น มาตรฐาน PAS ซึ่งยามาโตะได้ร่วมมือกับพันธมิตรธุรกิจพัฒนาให้เป็นมาตรฐานระดับโลก นับเป็นมาตรฐานแรกของโลกที่เกี่ยวกับการขนส่งสินค้า

ทางด้านที่ปรึกษาอาวุโสด้านโลจิสติกส์ของสวิสล็อก เซาท์อีสต์ เอเชีย ผู้ให้บริการโซลูชั่นระบบอัตโนมัติชั้นนำของโลก “นายดิกสัน โยว” ที่มาให้ข้อมูลเรื่อง คลังสินค้าอัจฉริยะ : การเดินทางสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยใช้โซลูชั่นหุ่นยนต์และการขับเคลื่อนข้อมูล เปิดเผยถึงการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในระบบคลังสินค้าเพื่อทำให้เป็นคลังสินค้าอัจริยะที่ช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และลดความซับซ้อนในโซ่อุปทาน โดยกล่าวว่า คลังสินค้าในยุค 4.0 ประกอบด้วย 2 แนวคิด คือ Cyber Physical System และ Big Data ในส่วนของ Cyber Physical System จะทำให้คลังสินค้ามีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตมากขึ้น ช่วยลดแรงงานคน เพิ่มความรวดเร็ว และแม่นยำ ซึ่งปัจจุบันมีความล้ำหน้าไปมาก ยกตัวอย่างที่สวิสล็อกมีการนำระบบ AutoStore มาใช้จัดเก็บสินค้าและนำสินค้าออกมาตามคำสั่งได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยคนไม่จำเป็นต้องทราบว่าควรนำไปจัดเก็บในตำแหน่งใดและสินค้าที่ต้องการนั้นอยู่ในตำแหน่งใด สำหรับ Big Data เป็นอีกส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะข้อมูลจะถูกใช้ในการวิเคราะห์ในกระบวนการทำงานทุกขั้นตอน ช่วยให้คาดการณ์ได้ว่าควรจะวางแผนการผลิตอย่างไร 

นายดิกสันแสดงให้เห็นว่าปัจจุบันการพัฒนาหุ่นยนต์มีความก้าวหน้าไปมากจนถึงระดับที่หุ่นยนต์สามารถทำงานร่วมกับคนได้ หรือที่เรียกว่า Human Robot Collaboration ซึ่งระบบนี้ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของระบบโลจิสติกส์ เป็นผู้ช่วยอำนวยความสะดวกให้มนุษย์ และตอบสนองได้ดีเหมือนมนุษย์ ยกตัวอย่างหุ่นยนต์ Intra Logistics ที่นำมาใช้ในสายการผลิต เพื่อทำหน้าที่ส่งของข้ามแผนก 

นอกจากนี้ นายเอ็ดวิน ฟาน โพเอลเจอร์ นายคัทสึฮิโกะ อุเมะทสึ และนายดิกสัน ยังได้ร่วมกันอภิปรายแบบคณะในหัวข้อ โลจิสติกส์ในยุคของการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Blockchain ที่มีประโยชน์สำหรับองค์กรที่ต้องการตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ สามารถเรียกดูข้อมูล สืบค้นย้อนกลับถึงต้นทางของสินค้า ซึ่งทำได้อย่างรวดเร็ว โปร่งใส และแม่นยำ สำหรับผู้สนใจที่จะลงทุนเรื่อง Blockchain ควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะกับความต้องการขององค์กร ไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี Blockchain ขั้นสูงหรือทันสมัยที่สุดเสมอไป 

อีกทั้งยังได้อภิปรายถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI โดยมองว่า AI กับคนจะมาทำงานร่วมกันและส่งเสริมให้การทำงานดีขึ้น จึงไม่ควรกังวลว่า AI จะมาแย่งงานของคน เพราะ AI ไม่สามารถทำงานได้ทุกตำแหน่ง 

เข้าสู่การสัมมนาภาคบ่ายกับวิทยากรอีก 3 ท่าน เริ่มจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก “นายฌอน คูลีย์” ในหัวข้อ โซ่อุปทานในอนาคต : ระบบอัตโนมัติ การตอบสนองความเป็นส่วนตัว การตอบสนองความเป็นท้องถิ่น กล่าวถึงทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโซ่อุปทาน ว่า ปัจจุบันโลกได้เปลี่ยนผ่านจากคลื่นลูกที่ 5 ซึ่งเป็นยุคของคอมพิวเตอร์ มาสู่คลื่นลูกที่ 6 เป็นยุคของดิจิทัลและ AI ซึ่ง Blockchain และ IoT มีบทบาทสำคัญในโซ่อุปทาน ทำให้เห็นการทำงานในทุกขั้นตอน เห็นการเคลื่อนย้าย (Visibility of Flows) ของสินค้า ข้อมูล และการเงิน เห็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น (Visibility of Costs) และเห็นถึงผลกระทบในโซ่อุปทานด้วย เช่น ผลกระทบด้านจริยธรรม ผลกระทบต่อระบบนิเวศ และผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ซึ่งความสำเร็จของโซ่อุปทานในคลื่นลูกที่ 6 จะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ มีวิธีคิดใหม่ (New Mindset) มีรูปแบบใหม่ (New Models) และมีวิธีดำเนินการใหม่ (New Methods) 

นายณอนกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างสร้างสรรค์ที่เกิดขึ้น 3 เรื่อง คือ การเปลี่ยนจากแรงงานคนเป็นหุ่นยนต์ การเปลี่ยนจากการใช้สมองมนุษย์มาเป็นสมองเครื่องจักรกล และการเชื่อมโยงกันเองของหุ่นยนต์ซึ่งทำให้เกิดหุ่นยนต์ที่ฉลาดขึ้น ทำงานได้เอง และประมวลผลได้เอง

สิ่งที่น่าจับตามองในปี 2045 ในมุมมองของนายณอนคือปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Singularity หรือ ความคิดเป็นหนึ่งเดียว คิดเหมือนกันหมด ซึ่งเป็นภัยที่ต้องระวังและน่ากลัว สิ่งหนึ่งที่ผลักดันให้เกิดเร็วขึ้นคือ 5G เพราะทำให้การเชื่อมโยงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว 

จากนั้นเป็นการบรรยายของ “นายมาร์ค มิลลาร์” กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็ม พาวเวอร์ แอสโซซิเอตส์ และประธานคณะกรรมการโลจิสติกส์ หอการค้าอังกฤษในฮ่องกง มาแบ่งปันความรู้เรื่อง ระบบนิเวศโซ่อุปทานกับการทำงานร่วมกัน ชี้ให้เห็นประโยชน์ของการทำงานร่วมกันในระบบนิเวศโซ่อุปทานว่าจะทำให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน และอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะผู้ขาย ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ หรือร้านค้าปลีก สามารถมาทำงานร่วมกันได้ อาจจะเป็นการทำงานร่วมกันของผู้ซื้อด้วยกันเอง หรือเป็นการจับมือทำงานร่วมกันระหว่างผู้ขาย ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ หรือร้านค้าปลีก สำหรับการทำงานร่วมกันนั้นเป็นได้หลากหลายรูปแบบ เช่น ลงทุนร่วมกันในโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนร่วมกันด้านบุคลากร ร่วมกันการบริหารจัดการประสิทธิภาพ และร่วมกันวัดผลกระทบ (Measure Impact) ที่จะเกิดขึ้น เป็นต้น ความสำเร็จของการทำงานร่วมกันจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความน่าเชื่อถือและมีความโปร่งใส แต่ละฝ่ายต้องมีบทบาทที่ชัดเจน มีคำมั่นสัญญาและข้อตกลงร่วมกัน สำหรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกันในโซ่อุปทานนั้น สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 35% ลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ 50% เพิ่มความแม่นยำในการประเมินสถานการณ์ 25% ลดสินค้าคงคลัง 20% นอกจากนี้ยังเพิ่มความถูกต้องในการส่งมอบสินค้า ยกระดับการบริการ และเพิ่มความ   พึงพอใจให้กับลูกค้า เป็นต้น

นายมาร์คยกตัวอย่างความร่วมมือที่เกิดขึ้นของ Container Shipping ที่ก่อตั้งเป็นพันธมิตรสหภาพ ซึ่งแม้ว่าในช่วงก่อตั้งนั้นจะต้องเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย แต่ทุกบริษัทที่ร่วมมือกลับมียอดขายเติบโต อีกกรณีหนึ่งคือการร่วมมือกันของเทสโก้กับคาร์ฟูร์ ซึ่งทั้ง 2 สองห้างได้เขียนกรอบความร่วมมือ Global Suppler และใช้แหล่งผลิตสินค้า House Brand จากแหล่งเดียวกัน ทำให้ทั้ง 2 ห้างสามารถควบคุมต้นทุนสินค้าได้ดีขึ้น  

หัวข้อสุดท้ายของการบรรยาย คือ การจัดส่งที่รวดเร็ว : ควรจะเร็วเท่าไรและทิศทางในอนาคตจะเป็นอย่างไร โดย “นางสาวอปรรณา สักเซนา” อดีตหัวหน้าฝ่ายธุรกิจขนส่ง ลาซาด้า อีโลจิสติกส์ อินโดนีเซีย กล่าวว่า ปัจจุบันประชากร 6,000 ล้านคนทั่วโลก มีประมาณ 2,000 ล้านคนที่เป็นคนยุคมิลเลเนียม ซึ่งมีพฤติกรรมไม่ต้องการรอ และยอมจ่ายเพื่อให้ได้สินค้าทันที จากการสำรวจพฤติกรรมของลูกค้าในระบบอีคอมเมิร์ซ พบว่า ลูกค้าที่ซื้อสินค้าออนไลน์อายุ 18-34 ปี จำนวน 56% คาดหวังที่จะได้รับสินค้าในวันที่สั่งซื้อ ในขณะที่ลูกค้าจำนวน 61% ยินดีจ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อให้ได้สินค้าในวันที่สั่งซื้อ และผู้ซื้อจำนวน 49% ชื่นชอบการซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเมื่อได้รับสินค้าในวันที่สั่งซื้อ นอกจากนี้ ลูกค้ากว่า 25% จะยกเลิกการสั่งซื้อหากร้านค้าไม่สามารถส่งสินค้าภายในวันที่สั่งซื้อ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในวงการค้าปลีกและโลจิสติกส์ ทำให้ร้านค้าปลีกจำเป็นต้องมีบริการส่งสินค้าภายในวันเดียวกับวันที่ลูกค้าสั่งซื้อ

นางสาวอปรรณาได้กล่าวถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของอีคอมเมิร์ซว่า นอกจากความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าแล้ว ยังมีอีก 4 ปัจจัยที่ลูกค้าให้ความสำคัญ คือ การส่งสินค้าฟรี การได้รับสินค้าตามที่คาดหวัง การคืนสินค้าฟรี และสามารถคืนหรือเปลี่ยนสินค้าได้ง่าย  

นอกจากนี้ นางสาวอปรรณายังได้ให้คำแนะนำในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ว่า หากต้องการอยู่ในระดับแนวหน้าของธุรกิจอีคอมเมิรซ์ จะต้องมองไปข้างหน้าว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเกิดขึ้นบ้าง สิ่งที่เคยให้บริการเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมาอาจไม่ประสบความสำเร็จอีกต่อไป เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้วางแผนยาก อย่างไรก็ตาม มีข้อแนะนำว่า การทำ B2C ไม่ควรใช้กลยุทธ์เรื่องราคา ยกตัวอย่างอาลีบาบา จะใช้กลยุทธ์การทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อให้ธุรกิจเติบโตไปด้วยกัน 

ปิดท้ายงาน Trade Logistics Symposium 2019 ด้วยการเสวนาในหัวข้อ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการทำงานร่วมกันของซัพพลายเชน โดยนายฌอน คูลีย์ นายมาร์ค มิลลาร์ และนางสาวอปรรณา สักเซนา มีใจความสำคัญว่า ความร่วมมือของผู้ประกอบการในซัพพลายเชนจะต้องพิจารณาว่าคุ้มค่ากับการลงทุนและคุ้มค่ากับเวลาหรือไม่ หากตกลงใจว่าจะทำต้องทุ่มเทและจริงจัง มีความเชื่อใจกัน กำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน มีข้อตกลงร่วมกัน และต้องเตรียมรับมือกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นด้วย ความร่วมมือกันนั้นมีหลายระดับ อาจจะเป็นในรูปของการนำจุดแข็งมาผนึกกำลังกัน หรือร่วมกันเพื่อแก้ไขจุดอ่อน สิ่งสำคัญที่สุดที่จะต้องคำนึงถึงอยู่เสมอในการทำงานคือการให้ลูกค้าเป็นศูนย์กลาง การส่งมอบที่รวดเร็ว และสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้า 

ผู้ร่วมเสวนายังได้กล่าวถึงบทบาทของสถาบันการศึกษาในการผลิตนักศึกษาเพื่อตอบสนองความต้องการของธุรกิจโลจิสติกส์ในยุคปัจจุบันว่า สถาบันการศึกษาต้องมองว่าตัวเองมีจุดเด่นด้านใด วิเคราะห์ให้ได้ว่าเทรนด์ในอนาคตจะเป็นอย่างไร ขณะเดียวกันต้องสอนทักษะใหม่ๆ ให้นักศึกษาก่อนที่จะออกไปสู่ภาคแรงงานในยุคที่หุ่นยนต์ทำงานแทนคน สอนให้รู้จักคิด วิเคราะห์ เข้าใจสภาพการณ์ปัจจุบัน สอนให้สังเกต ตั้งคำถาม แสวงหาความรู้ เพราะโลกเปลี่ยนไปทุกขณะ คนอาจไม่ได้ทำงานแบบเดียวไปตลอดชีวิตอีกต่อไป ต้องพร้อมเรียนรู้ ยืดหยุ่น การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเรื่องสำคัญมาก