สัมภาษณ์ เกริกกล้า สนธิมาศ ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ By CUSTOMS IMPORT-EXPORT
เอกชนประสานมือผุดสมาพันธ์โลจิสติกส์ หนุนสร้างศูนย์รวมข้อมูลเพิ่มขีดความสามารถ
คำ ว่า “โลจิสติกส์” เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ยินจนคุ้นหูในช่วงนี้ ซึ่งบางรายอาจจะเข้าใจเพียงว่า โลจิสติกส์ หมายถึงระบบการขนส่งสินค้าเท่านั้น ทั้งที่แท้จริงแล้ว โลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่การขนส่งสินค้า เมื่อโลจิสติกส์มีความหมายกว้างเช่นนี้ จึงต้องยกให้โลจิสติกส์ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการประกอบธุรกิจ หากใครบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะการบริหารระบบโลจิสติกส์ที่ดี จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาครัฐ และเอกชน ตื่นตัวกับเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ล่าสุด ฝั่งเอกชนถึงขนาดรวมตัวกัน จัดตั้ง สมาพันธ์โลจิสติกส์ขึ้นมาเลย นับเป็นการประกาศศักดาอย่างชัดเจนว่าผู้ประกอบธุรกิจไทย ไม่ขอตกยุคการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เด็ดขาด
“เกริกกล้า สนธิมาศ” ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ ได้เป็นตัวแทนจากบรรดาสมาชิกในสมาพันธ์ บอกเล่าเก้าสิบความเป็นมาของสมาพันธ์โลจิสติกส์ให้ฟังว่า กว่าจะก่อร่างเป็นสมาพันธ์โลจิสติกส์ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมีอุปสรรค ทั้งด้านการรวมตัว รวมถึงข้อกฎหมาย และการจดทะเบียนกับทางราชการ แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้น และได้ฤกษ์เปิดตัวเดือน มี.ค.51 โดยสมาพันธ์ฯ จะมีหน้าที่หลักในการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศร่วมกับ ภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยจะไปรวบรวมสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหา อุปสรรคด้านโลจิสติกส์ที่ภาคเอกชนประสบ ส่งผ่านไปให้รัฐบาลรับรู้ รวมทั้งสนับสนุนการให้ความรู้ เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์กับภาคเอกชนด้วย
ทั้งนี้สมา พันธ์ฯ มีพันธกิจว่า ต้องสร้างและขยายเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งของภาครัฐและเอกชนให้แข็งแกร่ง ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระบบอย่างยั่งยืน, มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และผลักดันให้การดำเนินการบรรลุผลตามเป้าหมาย, ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ปลอดภัย ได้มาตรฐานโลก, ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) ที่เหมาะสมใช้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ, ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านโลจิสติกส์ และส่งเสริมให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบโลจิสติกส์, ส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางด้านโลจิสติกส์ ผลักดันให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพด้านโลจิสติกส์แห่งประเทศไทย และเป็นตัวแทนภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในระบบโลจิสติกส์ไทย
คุณเกริกกล้า แจกแจงรายละเอียดพันธกิจบางประการให้ฟังว่า ในด้านการให้ความรู้ จะไม่ใช่แค่การนั่งคุยกันเองภายในกลุ่มผู้ประกอบการ แต่จะให้ฝ่ายวิชาการตัวจริงมามีส่วนร่วมให้ความรู้ด้วย โดยจะจับมือกับสถาบันการศึกษา ทำวิจัย และจัดสัมมนาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการเชื่อถือกับความรู้ที่สมาพันธ์ฯ เผยแพร่ไป เพราะมีเครื่องการันตีว่า ไม่ใช่สิ่งที่คิดเอาเอง มาจากความรู้สึก แต่มีข้อมูลด้านวิชาการ และงานวิจัยมาสนับสนุน
ส่วนการใช้ไอที พัฒนาระบบโลจิสติกส์นั้น จะสร้างศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันผ่านศูนย์กลางนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนบริหารกิจการของตนเองได้ดี ขึ้น
“อยากให้เป็นเหมือนกูเกิ้ลของโลจิสติกส์เลย ถ้าเราส่งของลงเรือท่าเรือแหลมฉบัง แล้วไปคุณหมิง ต้องเป็นยังไงบ้าง สามารถไปได้อย่างไรบ้าง ถ้าเราเริ่มตรงนี้ จะเป็นศูนย์รวมสำหรับประเทศไทยอย่างเดียว จะเป็นสำหรับอาเซียนด้วย คิดว่าทางกลุ่มอาเซียนยังไม่มีใครแข็งแกร่งทางด้านนี้ อยากจะรู้เรื่องว่าโลจิสติกส์ อาเซียนเป็นยังไง เช็คข้อมูลได้หมดว่าต้องทำอย่างไรในแต่ละประเทศ มีผู้ประกอบการรายใดบ้าง มีบริการอย่างไร อยากให้ใช้เป็นจุดต่อเชื่อม นำไปสู่การค้นคว้า เหมือนเซิร์ชเอ็นจิ้น”
นอกจากนี้สมาพันธ์ฯ มีแผนส่งเสริมให้นักเรียนอาชีวะในไทย ได้มีส่วนช่วยพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โดยได้ให้งบประมาณ 200,000 บาท อบรมนักเรียนอาชีวะ ให้สามารถซ่อมแซมตู้สินค้าได้ เพราะปัจจุบันมีปัญหาขาดแคลนตู้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ต้องการตู้มากแต่เรือขนส่งสินค้าเข้ามาได้ปริมาณน้อยกว่าความต้องการที่จะ ใช้ส่งสินค้าออก ทำให้ไทยต้องขนตู้เปล่าจากสิงคโปร์เข้ามา ค่าใช้จ่ายตรงนี้จึงสูงมาก และสมาพันธ์ฯ มองว่า ท่าเรือแหลมฉบัง มีศักยภาพมากพอ ที่จะใช้เป็นศูนย์การซ่อมตู้สินค้า และหากมีประเทศอื่น ส่งตู้สินค้าเข้ามาซ่อมด้วย จะส่งผลให้มีตู้เปล่าให้ที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ใช้ด้วย
คุณเกริก กล้า มองว่า ตอนนี้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ยังอยู่ในขั้นหัดเดินเท่านั้น การดำเนินงานของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ด้านโลจิสติกส์ เน้นการจัดส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเป็นหลัก โดยปี 49 มีต้นทุนโลจิสติกส์ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) 23.9% หรือคิดเป็นมูลค่า 2.36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 46 ที่มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อจีดีพี 16% ขณะที่ประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา พัฒนาระบบโลจิสติกส์ไปไกลมากแล้ว มีการจัดการด้านโลจิสติกส์ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิตสินค้าแล้วส่งมอบไปให้ผู้บริโภค มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี ไม่เกิน 11% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นการพัฒนาโลจิสติกส์จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งจัดการ
“กระ บวนการโลจิสติกส์ของไทย เป็นแบบลูกทุ่ง ไม่เป็นระบบ ไม่มีฐานข้อมูลเตรียมไว้ คือ ผู้ประกอบการหาช่องทางการขนส่งสินค้ากันเอง ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ที่ทำให้มีค่าขนส่งสูง แข่งขันได้ยาก ดังนั้นรัฐบาลควรพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยภาพรวม กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องแก้ไข”
ทั้งนี้สิ่งที่สมาพันธ์ฯ คิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่รัฐบาลควรเดินหน้าโดยเร็วคือ โครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ท เพื่อช่วยลดเวลาการขนส่งทางน้ำ เพราะหากมีโครงการนี้ จะช่วยให้ไทยเป็นประตูการค้าสำคัญ ไม่จำเป็นต้องไปอ้อมเข้าซอยประเทศสิงคโปร์ให้เสียเวลา ซึ่งถ้าเป็นได้จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมาใช้เส้นทางการขนส่งทางน้ำมาก ขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์ได้มากกว่าทางถนน 8-9 เท่า นอกจากนี้ควรพัฒนารถไฟรางคู่ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากขนส่งทางรถไฟ หรือระบบราง จะช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งมากกว่าทางถนนได้ถึง 3 เท่า
คุณ เกริกกล้า ส่งสารไปยังภาครัฐด้วยว่า อยากให้เพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับมาตรฐานรถบรรทุกสินค้าประเทศอื่นที่จะ วิ่งผ่านประเทศไทย ควรดูด้วยว่ารถบรรทุกประเทศอื่นที่เข้ามา ปล่อยควันพิษเกินกำหนดของประเทศไทยหรือไม่ ควรให้เป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้กับมาตรฐานรถบรรทุกในประเทศไทย และควรดูเรื่องความชำนาญของคนขับ ต้องรู้กฎระเบียบการขับรถในประเทศไทย พูดง่ายๆ ก็คือ ดูทั้งรถ คน และสินค้า ประเมินถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสวัสดิภาพของคนไทย และความมั่นคงของชาติโดยรวม เพราะถ้ารถบรรทุกประเทศอื่นที่ขนส่งสินค้าเข้ามาในประเทศไทย พ่นควันพิษมากกว่ามาตรฐานในประเทศ จะเพิ่มมลพิษทางอากาศ เป็นผลเสียต่อร่างกายของประชาชนได้
อีกเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้อง ทำเช่นกัน คือ การเจรจา เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ศึกษาปัญหาและหาทางแก้อย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้า การลงทุน หากภาครัฐสนับสนุนได้ทุกด้านตามที่สมาพันธ์ฯ มองไว้ จะช่วยให้เสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพการแข่งขันกับประเทศอื่นบน สังเวียนการค้าโลกมากขึ้น และยังเป็นการประกาศด้วยว่า ประเทศไทยจะเป็นประตูการค้า การลงทุน และการให้บริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งจะขยายผลไปสู่การเป็นประตูการค้าระดับภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป
คุณ เกริกกล้า ฝากบอกไปยังผู้ประกอบการไทยว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก จากปัจจัยภายนอกประเทศที่เหนือการควบคุม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อาทิ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และผลกระทบจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ความน่าเชื่อถือต่ำ(ซับ ไพร์ม) ซึ่งอาจส่งผลลามไปยังประเทศอื่นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้กระทบต่อผู้ส่งออก รวมถึงผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ด้วยการพัฒนาบริการใหม่ๆ หรือรวมตัวกันพัฒนาเพื่อความอยู่รอด
ทั้งนี้คาดว่าปีนี้ทิศทางการ ขนส่งทางบก จะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ใช้บริการรถบรรทุกตู้สินค้า จะปรับเปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางเรือมากขึ้น เพราะปัญหาราคาน้ำมันแพง ดังนั้นอนาคตจึงอาจเหลือแค่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เฉพาะผู้ให้บริการต่างชาติรายใหญ่กับรายเล็ก ๆ เท่านั้น ส่วนผู้ให้บริการรายกลางจะถูกเบียดตกกระป๋องไป หากผู้ให้บริการรายกลางอยากอยู่รอด ก็ต้องรวมตัวกัน ให้บริการแบบครบวงจรภายในจุดเดียว หรือ วัน สต๊อป เซอร์วิส
ขณะ เดียวกันอยากฝากไว้ด้วยว่า ผู้ประกอบการไม่ควรคำนึงแค่เรื่องต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพียงอย่างเดียว แต่อยากให้คำนึงด้วยว่า ควรมีระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เพราะต่างประเทศพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
เรียกว่าไม่ เพียงแต่ต้องการเห็นระบบโลจิสติกส์ของประเทศพัฒนา มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าไปด้วยดี แต่ยังใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอีกด้วย เห็นอย่างนี้แล้วคงต้องเอาใจช่วยให้สมาพันธ์โลจิสติกส์ ดำเนินงานได้สำเร็จตามพันธกิจที่วางไว้ เพราะถ้าทำได้เมื่อไหร่ ประเทศไทยพัฒนาไปได้อีกไกลแน่นอน
สัมภาษณ์ เกริกกล้า สนธิมาศ ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ By CUSTOMS IMPORT-EXPORT
เอกชนประสานมือผุดสมาพันธ์โลจิสติกส์ หนุนสร้างศูนย์รวมข้อมูลเพิ่มขีดความสามารถ
คำว่า “โลจิสติกส์” เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจได้ยินจนคุ้นหูในช่วงนี้ ซึ่งบางรายอาจจะเข้าใจเพียงว่า โลจิสติกส์ หมายถึงระบบการขนส่งสินค้าเท่านั้น ทั้งที่แท้จริงแล้ว โลจิสติกส์ หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งไม่ได้หมายถึงแค่การขนส่งสินค้า เมื่อโลจิสติกส์มีความหมายกว้างเช่นนี้ จึงต้องยกให้โลจิสติกส์ เป็นส่วนประกอบสำคัญในการประกอบธุรกิจ หากใครบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ดี ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้ว เพราะการบริหารระบบโลจิสติกส์ที่ดี จะช่วยลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานได้ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ภาครัฐ และเอกชน ตื่นตัวกับเรื่องการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ ล่าสุด ฝั่งเอกชนถึงขนาดรวมตัวกัน จัดตั้ง สมาพันธ์โลจิสติกส์ขึ้นมาเลย นับเป็นการประกาศศักดาอย่างชัดเจนว่าผู้ประกอบธุรกิจไทย ไม่ขอตกยุคการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เด็ดขาด
“เกริกกล้า สนธิมาศ” ประธานสมาพันธ์โลจิสติกส์ ได้เป็นตัวแทนจากบรรดาสมาชิกในสมาพันธ์ บอกเล่าเก้าสิบความเป็นมาของสมาพันธ์โลจิสติกส์ให้ฟังว่า กว่าจะก่อร่างเป็นสมาพันธ์โลจิสติกส์ได้นั้น ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะมีอุปสรรค ทั้งด้านการรวมตัว รวมถึงข้อกฎหมาย และการจดทะเบียนกับทางราชการ แต่ในที่สุดก็ผ่านพ้น และได้ฤกษ์เปิดตัวเดือน มี.ค.51 โดยสมาพันธ์ฯ จะมีหน้าที่หลักในการวางแผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศร่วมกับ ภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยจะไปรวบรวมสิ่งที่เห็นว่าเป็นปัญหา อุปสรรคด้านโลจิสติกส์ที่ภาคเอกชนประสบ ส่งผ่านไปให้รัฐบาลรับรู้ รวมทั้งสนับสนุนการให้ความรู้ เสนอแนะแนวทางการพัฒนาโลจิสติกส์กับภาคเอกชนด้วย
ทั้งนี้สมาพันธ์ฯ มีพันธกิจว่า ต้องสร้างและขยายเครือข่ายด้านโลจิสติกส์ทั้งของภาครัฐและเอกชนให้แข็งแกร่ง ครอบคลุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งระบบอย่างยั่งยืน, มีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศ และผลักดันให้การดำเนินการบรรลุผลตามเป้าหมาย, ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีความสามารถบริหารจัดการโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย ปลอดภัย ได้มาตรฐานโลก, ส่งเสริมให้นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(ไอที) ที่เหมาะสมใช้พัฒนาระบบโลจิสติกส์ให้มีประสิทธิภาพ, ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลด้านโลจิสติกส์ และส่งเสริมให้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ เพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบโลจิสติกส์, ส่งเสริมการวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรมทางด้านโลจิสติกส์ ผลักดันให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพด้านโลจิสติกส์แห่งประเทศไทย และเป็นตัวแทนภาคเอกชนด้านโลจิสติกส์ ส่งเสริมและพัฒนาผู้เกี่ยวข้องในระบบโลจิสติกส์ไทย
คุณเกริกกล้า แจกแจงรายละเอียดพันธกิจบางประการให้ฟังว่า ในด้านการให้ความรู้ จะไม่ใช่แค่การนั่งคุยกันเองภายในกลุ่มผู้ประกอบการ แต่จะให้ฝ่ายวิชาการตัวจริงมามีส่วนร่วมให้ความรู้ด้วย โดยจะจับมือกับสถาบันการศึกษา ทำวิจัย และจัดสัมมนาเกี่ยวกับโลจิสติกส์ ซึ่งน่าจะทำให้ผู้ประกอบการเชื่อถือกับความรู้ที่สมาพันธ์ฯ เผยแพร่ไป เพราะมีเครื่องการันตีว่า ไม่ใช่สิ่งที่คิดเอาเอง มาจากความรู้สึก แต่มีข้อมูลด้านวิชาการ และงานวิจัยมาสนับสนุน
ส่วนการใช้ไอทีพัฒนาระบบโลจิสติกส์นั้น จะสร้างศูนย์กลางข้อมูลโลจิสติกส์ขึ้นมา เพื่อให้ผู้ประกอบการได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันผ่านศูนย์กลางนี้ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการนำข้อมูลที่ได้ไปวางแผนบริหารกิจการของตนเองได้ดี ขึ้น
“อยากให้เป็นเหมือนกูเกิ้ลของโลจิสติกส์เลย ถ้าเราส่งของลงเรือท่าเรือแหลมฉบัง แล้วไปคุณหมิง ต้องเป็นยังไงบ้าง สามารถไปได้อย่างไรบ้าง ถ้าเราเริ่มตรงนี้ จะเป็นศูนย์รวมสำหรับประเทศไทยอย่างเดียว จะเป็นสำหรับอาเซียนด้วย คิดว่าทางกลุ่มอาเซียนยังไม่มีใครแข็งแกร่งทางด้านนี้ อยากจะรู้เรื่องว่าโลจิสติกส์ อาเซียนเป็นยังไง เช็คข้อมูลได้หมดว่าต้องทำอย่างไรในแต่ละประเทศ มีผู้ประกอบการรายใดบ้าง มีบริการอย่างไร อยากให้ใช้เป็นจุดต่อเชื่อม นำไปสู่การค้นคว้า เหมือนเซิร์ชเอ็นจิ้น”
นอกจากนี้สมาพันธ์ฯ มีแผนส่งเสริมให้นักเรียนอาชีวะในไทย ได้มีส่วนช่วยพัฒนาระบบโลจิสติกส์ โดยได้ให้งบประมาณ 200,000 บาท อบรมนักเรียนอาชีวะ ให้สามารถซ่อมแซมตู้สินค้าได้ เพราะปัจจุบันมีปัญหาขาดแคลนตู้ โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ต้องการตู้มากแต่เรือขนส่งสินค้าเข้ามาได้ปริมาณน้อยกว่าความต้องการที่จะ ใช้ส่งสินค้าออก ทำให้ไทยต้องขนตู้เปล่าจากสิงคโปร์เข้ามา ค่าใช้จ่ายตรงนี้จึงสูงมาก และสมาพันธ์ฯ มองว่า ท่าเรือแหลมฉบัง มีศักยภาพมากพอ ที่จะใช้เป็นศูนย์การซ่อมตู้สินค้า และหากมีประเทศอื่น ส่งตู้สินค้าเข้ามาซ่อมด้วย จะส่งผลให้มีตู้เปล่าให้ที่ท่าเรือแหลมฉบังได้ใช้ด้วย
คุณเกริกกล้า มองว่า ตอนนี้การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของไทย ยังอยู่ในขั้นหัดเดินเท่านั้น การดำเนินงานของผู้ประกอบการส่วนใหญ่ด้านโลจิสติกส์ เน้นการจัดส่งสินค้าไปสู่ผู้บริโภคเป็นหลัก โดยปี 49 มีต้นทุนโลจิสติกส์ต่ออัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) 23.9% หรือคิดเป็นมูลค่า 2.36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับปี 46 ที่มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ ต่อจีดีพี 16% ขณะที่ประเทศอื่น เช่น ออสเตรเลีย ฮ่องกง สิงคโปร์ สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา พัฒนาระบบโลจิสติกส์ไปไกลมากแล้ว มีการจัดการด้านโลจิสติกส์ตั้งแต่การจัดซื้อวัตถุดิบ ไปจนถึงการผลิตสินค้าแล้วส่งมอบไปให้ผู้บริโภค มีสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ต่อจีดีพี ไม่เกิน 11% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่า ประเทศไทยมีต้นทุนด้านโลจิสติกส์ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ดังนั้นการพัฒนาโลจิสติกส์จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลต้องเร่งจัดการ
“กระบวนการโลจิสติกส์ของไทย เป็นแบบลูกทุ่ง ไม่เป็นระบบ ไม่มีฐานข้อมูลเตรียมไว้ คือ ผู้ประกอบการหาช่องทางการขนส่งสินค้ากันเอง ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ที่ทำให้มีค่าขนส่งสูง แข่งขันได้ยาก ดังนั้นรัฐบาลควรพัฒนาระบบโลจิสติกส์โดยภาพรวม กำหนดให้เป็นยุทธศาสตร์ที่ต้องแก้ไข”
ทั้งนี้สิ่งที่สมาพันธ์ฯ คิดว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน ที่รัฐบาลควรเดินหน้าโดยเร็วคือ โครงการเซาท์เทิร์นซีบอร์ท เพื่อช่วยลดเวลาการขนส่งทางน้ำ เพราะหากมีโครงการนี้ จะช่วยให้ไทยเป็นประตูการค้าสำคัญ ไม่จำเป็นต้องไปอ้อมเข้าซอยประเทศสิงคโปร์ให้เสียเวลา ซึ่งถ้าเป็นได้จะช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมาใช้เส้นทางการขนส่งทางน้ำมาก ขึ้น ซึ่งช่วยประหยัดต้นทุนโลจิสติกส์ได้มากกว่าทางถนน 8-9 เท่า นอกจากนี้ควรพัฒนารถไฟรางคู่ เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า เพราะขณะนี้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง หากขนส่งทางรถไฟ หรือระบบราง จะช่วยประหยัดต้นทุนการขนส่งมากกว่าทางถนนได้ถึง 3 เท่า
คุณเกริกกล้า ส่งสารไปยังภาครัฐด้วยว่า อยากให้เพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับมาตรฐานรถบรรทุกสินค้าประเทศอื่นที่จะ วิ่งผ่านประเทศไทย ควรดูด้วยว่ารถบรรทุกประเทศอื่นที่เข้ามา ปล่อยควันพิษเกินกำหนดของประเทศไทยหรือไม่ ควรให้เป็นมาตรฐานเดียวกับที่ใช้กับมาตรฐานรถบรรทุกในประเทศไทย และควรดูเรื่องความชำนาญของคนขับ ต้องรู้กฎระเบียบการขับรถในประเทศไทย พูดง่ายๆ ก็คือ ดูทั้งรถ คน และสินค้า ประเมินถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสวัสดิภาพของคนไทย และความมั่นคงของชาติโดยรวม เพราะถ้ารถบรรทุกประเทศอื่นที่ขนส่งสินค้าเข้ามาในประเทศไทย พ่นควันพิษมากกว่ามาตรฐานในประเทศ จะเพิ่มมลพิษทางอากาศ เป็นผลเสียต่อร่างกายของประชาชนได้
อีกเรื่องที่ภาครัฐจำเป็นต้องทำเช่นกัน คือ การเจรจา เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ศึกษาปัญหาและหาทางแก้อย่างจริงจัง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการค้า การลงทุน หากภาครัฐสนับสนุนได้ทุกด้านตามที่สมาพันธ์ฯ มองไว้ จะช่วยให้เสริมให้ผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพการแข่งขันกับประเทศอื่นบน สังเวียนการค้าโลกมากขึ้น และยังเป็นการประกาศด้วยว่า ประเทศไทยจะเป็นประตูการค้า การลงทุน และการให้บริการโลจิสติกส์ในภูมิภาคอินโดจีน ซึ่งจะขยายผลไปสู่การเป็นประตูการค้าระดับภูมิภาคอาเซียนได้ต่อไป
คุณเกริกกล้า ฝากบอกไปยังผู้ประกอบการไทยว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศขณะนี้ยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก จากปัจจัยภายนอกประเทศที่เหนือการควบคุม ซึ่งจะส่งผลกระทบมาถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย อาทิ ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้น อัตราดอกเบี้ย สถานการณ์ทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และผลกระทบจากตลาดสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้ความน่าเชื่อถือต่ำ(ซับ ไพร์ม) ซึ่งอาจส่งผลลามไปยังประเทศอื่นอย่างเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกันยังมีปัญหาค่าเงินบาทแข็งค่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้กระทบต่อผู้ส่งออก รวมถึงผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัว ด้วยการพัฒนาบริการใหม่ๆ หรือรวมตัวกันพัฒนาเพื่อความอยู่รอด
ทั้งนี้คาดว่าปีนี้ทิศทางการขนส่งทางบก จะมีการแข่งขันที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ใช้บริการรถบรรทุกตู้สินค้า จะปรับเปลี่ยนไปใช้การขนส่งทางเรือมากขึ้น เพราะปัญหาราคาน้ำมันแพง ดังนั้นอนาคตจึงอาจเหลือแค่ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ เฉพาะผู้ให้บริการต่างชาติรายใหญ่กับรายเล็ก ๆ เท่านั้น ส่วนผู้ให้บริการรายกลางจะถูกเบียดตกกระป๋องไป หากผู้ให้บริการรายกลางอยากอยู่รอด ก็ต้องรวมตัวกัน ให้บริการแบบครบวงจรภายในจุดเดียว หรือ วัน สต๊อป เซอร์วิส
ขณะเดียวกันอยากฝากไว้ด้วยว่า ผู้ประกอบการไม่ควรคำนึงแค่เรื่องต้นทุนด้านโลจิสติกส์เพียงอย่างเดียว แต่อยากให้คำนึงด้วยว่า ควรมีระบบโลจิสติกส์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้มากขึ้น เพื่อภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร เพราะต่างประเทศพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น
เรียกว่าไม่เพียงแต่ต้องการเห็นระบบโลจิสติกส์ของประเทศพัฒนา มีส่วนหนุนให้เศรษฐกิจไทยก้าวหน้าไปด้วยดี แต่ยังใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำเนินชีวิตอีกด้วย เห็นอย่างนี้แล้วคงต้องเอาใจช่วยให้สมาพันธ์โลจิสติกส์ ดำเนินงานได้สำเร็จตามพันธกิจที่วางไว้ เพราะถ้าทำได้เมื่อไหร่ ประเทศไทยพัฒนาไปได้อีกไกลแน่นอน