การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังสู่การเป็นท่าขนส่งอิเลคทรอนิกส์.
นางสาวสุวรรณา โพธิอ่อน , นายไพโรจน์ เร้าธนชลกุล
>> Download ebook <<
ท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือน้ำลึกหลักในการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ และเป็นท่าเทียบเรือที่มี
อัตราเติบโตของการให้บริการขนถ่ายสินค้าสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวทางและนโยบายปฏิบัติด้านการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ
มาใช้ในการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าขนส่งอิเลคทรอนิกส์ (e-Port) ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้การพัฒนา
ระบบท่าขนส่งอิเลคทรอนิกส์ประสบความสำเร็จ (Key Success Factors) ก็คือ การใช้เทคโนโลยีที่มีความ
เหมาะสมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ งาน ดังนั้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information
Technology) ที่ทันสมัยจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาท่าเรือไปสู่ความเป็นท่าเรือสากลที่มีสมรรถภาพสูง
เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยน รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ ค้นหา และเผยแพร่ระหว่าง
หน่วยงานต่างๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระหว่างท่าเรือ หรือ Mode การขนส่งอื่นๆ เช่น รถไฟ รถยนต์ หรือ
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศของท่าเรือแหลมฉบังซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ท่าเรือประสบ
ความสำเร็จมีด้วยกัน 4 ประการ (1) การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (2) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
สนับสนุนและวางแผนการดำเนินงานของท่าเรือ (3) โครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศต้องมีความยืดหยุ่น
และปรับเปลี่ยนได้ไม่ยุ่งยาก (4) สนับสนุนให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยปรับเปลี่ยนให้การดำเนินงานของ
ท่าเรือมีความทันสมัยขึ้น สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน และสามารถพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็น
World Class Port ด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมูล สำหรับอำนวยความสะดวกและสร้างความรวดเร็วแก่ผู้ใช้บริการ
เพื่อลดระยะเวลาและค่าใช้จ่าย โดยมุ่งเน้นระบบไร้เอกสาร (Paperless) ยกระดับการให้บริการ การเพิ่มขีด
ความสามารถ (Capacity) ช่วยลด Waiting Time ของเรือที่เทียบท่าทำให้ต้นทุนส่วนที่เป็น Port Cost ของ
สายการเดินเรือต่ำลง การจัดสรรพื้นที่เพื่อรองรับกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มศักยภาพในการบริหารงาน
หน้าท่า เป็นต้น