ระบบสอบย้อนกลับในห่วงโซ่อุปทานข้าวหอมมะลิ โดยการบูรณาการระบบโลจิสติกส์ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและ RFID
สมจิตร อาจอินทร์, วรพจน์ จักขุพันธ์, บุญวัฒน์ สุริยวงศ์
>>Download ebook<<
การสอบย้อนกลับ เป็นข้อกำหนดหนึ่งของ European Union และ Food Safety Law ในการนำเข้า
สินค้าประเภทอาหาร และเป็นกลไกในการสร้างความปลอดภัยด้านอาหารให้กับผู้บริโภครวมถึงผู้มีส่วนได้
ส่วนเสียในห่วงโซ่อุปทาน ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าประเภทอาหารที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นลำดับต้นๆ ของ
ประเทศไทย ซึ่งผู้บริโภคต่างให้ความตระหนักถึงความปลอดภัยจากการบริโภคข้าวเป็นอาหาร บทความวิจัย
นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอกรอบงานระบบสอบย้อนกลับตามมาตรฐานสากลและเทคโนโลยีสารสนเทศ
รวมถึงเทคโนโลยี RFID โดยนำเสนอการวิเคราะห์มาตรฐานการสอบย้อนกลับโดย ISO และ GS1 เพื่อพัฒนา
เป็นกรอบงานของระบบสอบย้อนกลับที่ดีและเหมาะสมสำหรับสินค้าประเภทอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ
สอบย้อนกลับข้าวหอมมะลิจากผู้บริโภคถึงแหล่งเพาะปลูก ระบบสอบย้อนกลับใช้กระบวนการในห่วงโซ่
อุปทานเป็นขอบเขตสำหรับการออกแบบ ซึ่งประกอบด้วย ผู้ผลิตคือเกษตรกร ผู้ค้าข้าวเปลือก ผู้แปรรูป ผู้
จำหน่าย และผู้ขนส่ง และใช้มาตรฐานสากลเป็นเครื่องมือในการออกแบบระบบสอบย้อนกลับ ซึ่งประกอบไป
ด้วย 3 มาตรฐาน ได้แก่ 1) มาตรฐานการแลกเปลี่ยนเอกสารพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2) มาตรฐานการสอบ
ย้อนกลับ (GS1 Traceability Standard) และ 3) มาตรฐาน RFID และสถาปัตยกรรม EPCglobal Network
กรอบงานของระบบสอบย้อนกลับที่นำเสนอมีองค์ประกอบสำคัญ 3 ส่วน คือ (1) ระบบจัดการข้อมูลพื้นฐาน
(2) ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ (3) ระบบสอบย้อนกลับบนมาตรฐาน EPCglobal Network
และท้ายที่สุด บทความวิจัยนี้ ได้นำเสนอกรณีตัวอย่าง ระบบข้อมูลและขั้นตอนการสอบย้อนกลับตามกรอบ
งานที่ออกแบบไว้ เพื่อแสดงถึงการใช้งานระบบสอบย้อนกลับ เช่น การสอบย้อนกลับ (Tracing) ในกรณีสินค้า
มีปัญหาและต้องการทราบถึงแหล่งที่มาในห่วงโซ่อุปทาน (External Traceability) รวมถึงการสอบย้อนกลับถึง
กระบวนการภายใน (Internal Traceability) หรือ เพื่อติดตาม (Tracking) สินค้าเพื่อการเรียกคืน