กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ของผู้ส่งหรือกระจายสินค้าของไทย

509

ปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ของผู้ส่งหรือกระจายสินค้าของไทย

อภิชาต โสภาแดง, กรกฎ ใยบัวเทศ, ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์, สาลินี สันติธีรากุล, ชนม์เจริญ แสวงรัตน์
>>Download ebook<<

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
และโลจิสติกส์ ของกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ส่งหรือกระจายสินค้า (Physical Distribution) ในประเทศไทย รวมถึง
เปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากในปัจจุบันการบริหารจัดการห่วงโซ่
อุปทานและโลจิสติกส์เป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่ในปัจจุบันผู้ส่งหรือ
กระจายสินค้าของไทยยังไม่สามารถเข้าถึงประเด็นสำคัญของการบริหารจัดการดังกล่าว ทำให้การศึกษานี้
เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง โดยมีขอบเขตการศึกษาคือการใช้ SCM/ Logistics Scorecard (LSC) เป็นเครื่องมือ
ในการรวบรวมข้อมูล รวมทั้งใช้เครื่องมือทางสถิติทั้งแบบสถิติเชิงพรรณา (Descriptive Statistics) และการ
วิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูลโครงสร้างของปัจจัยต่างๆ รวมถึงจัดกลุ่มปัจจัยที่มี
โครงสร้างคล้ายกันให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตลอดจนสามารถสะท้อนให้เห็นถึงปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพของห่วง
โซ่อุปทานและโลจิสตืกส์ของกลุ่มกรณีศึกษา ผลลัพธ์จากศึกษาพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการบริหาร
จัดการห่วงโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ของไทยนั้นประกอบด้วย ปัจจัยด้านการวางแผน/ปฏิบัติตามแผนและการ
ให้บริการแบบทันเวลา ด้านความร่วมมือระหว่างองค์กร และด้านความสามารถในการตอบสนองความ
ต้องการของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งต่างกับของญี่ปุ่นที่พบว่าปัจจัยด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน
องค์กรก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่มีผลต่อศักยภาพการบริหารงานดังกล่าวเช่นกัน