กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์: กรณีพนักงานขับรถสำหรับสาขาขนส่งสินค้าและขนส่งโดยสาร ในเขตภาคเหนือตอนบน

641

ขีดความสามารถของบุคลากรด้านโลจิสติกส์: กรณีพนักงานขับรถสำหรับสาขาขนส่งสินค้าและขนส่งโดยสาร ในเขตภาคเหนือตอนบน

เกศรา ใจจันทร์, ดร.อภิชาติ ไตรแสง , ดร.สมคิด แก้วทิพย์ , ดร.เมธี พะยอมยงค์ , ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
>>Download ebook<<

จากความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจผลักดันให้แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ได้รับการยอมรับว่า
เป็นวาระแห่งชาติ (Nation Agenda) เป็นเครื่องมือในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
อีกทั้งถูกบรรจุยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ไทยไว้ในแผนการบริหารราชการแผ่นดิน ตั้งแต่ปี พ.ศ.
2548 (TDRI, 2549: 1)
โลจิสติกส์ เป็นเรื่องของระบบที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการจำหน่าย เป็นส่วนกายภาพทางการกระจาย
สินค้า (Physical Distribution) ไปยังผู้บริโภค และเป็นกิจกรรมที่ส่งผลต่อการเพิ่มกำไรให้กับองค์กร โดย
สามารถจัดกลุ่มงานได้ 6 กลุ่มกิจกรรม คือ 1) กลุ่มการจัดซื้อและเจรจาต่อรอง 2) กลุ่มการจัดการขนส่ง 3)
กลุ่มการจัดการส่งออก 4) กลุ่มการเคลื่อนย้ายสินค้าการจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง 5) กลุ่มงาน
การตลาดและให้บริการลูกค้า 6) กลุ่มจัดการห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งในภาพรวม พบว่า ทุกกลุ่มงานมีขีด
ความสามารถตามจริง (Actual Competency) ต่ำกว่าขีดความสามารถที่คาดหวัง (Expected Competency)
ของอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ (TDRI, 2549)
เนื่องจากกลุ่มงานจัดการขนส่งนั้น นับได้ว่าเป็นกิจกรรมหลักในการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ
ภายในโซ่คุณค่า (Value Chain) เนื่องจากการขนส่งมีความสำคัญต่อความสามารถในการตอบสนองความ
ต้องการของลูกค้า (Responsiveness) การจัดการขนส่งจึงเป็นองค์ประกอบสำคัญต่อความสำเร็จของระบบโล
จิสติกส์โดยรวม (สาธิต พะเนียงทอง, 2548:56) และในกลุ่มงานขนส่งจะมีพนักงานขับรถเป็นบุคลากรหลัก
การเสนอบทความครั้งนี้ เป็นการศึกษาจากเอกสารและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา
ความสามารถในการปฏิบัติงานของคนในระบบ เป็นหลัก โดยสามารถสรุปถึงคุณสมบัติพื้นฐาน (Common
Factor) และคุณสมบัติเฉพาะ (Specific Factor) ของพนักงานขับรถขนส่งสินค้าและขนส่งโดยสาร ได้ดังนี้ คือ
494
การประชุมเชิงวิชาการประจำปีด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ครั้งที่ 8
คุณสมบัติหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานขับรถ ประกอบไปด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการขับรถ
อย่างปลอดภัย 2) ความรู้เกี่ยวกับสินค้า/บริการขององค์กร 3) ทักษะด้านภาษาและการสื่อสาร 4) ทักษะใน
การให้บริการลูกค้า
คุณสมบัติด้านความรู้เฉพาะในการปฏิบัติงานของพนักงาน ประกอบไปด้วย 1) ความรู้เกี่ยวกับการจัด
ตารางเวลาและรูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม 2) ความรู้เกี่ยวกับถนนและเส้นทางขนส่ง 3) ความรู้เกี่ยวกับ
กฎหมายการขนส่ง
คุณสมบัติด้านทักษะเฉพาะในการปฏิบัติงานของพนักงาน ประกอบด้วย 1) ทักษะในการขับขี่
ยานพาหนะอย่างปลอดภัย 2) ทักษะการใช้และจัดการอุปกรณ์เครื่องมือประจำรถ 3) ทักษะในการจัดลำดับ
ความสำคัญและงานเร่งด่วนให้เสร็จในเวลาที่กำหนด 4) ทักษะในการเข้าใจและทำตามคำสั่ง
โดยขีดความสามารถดังกล่าว ของพนักงานขับรถจะมีลักษณะและกระบวนการพัฒนาได้ในระดับใดนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐานด้านจิตวิทยาเฉพาะบุคคลด้วยเช่นกัน