การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการของ บริษัท ฟอร์เวิร์ดเดอร์
สุขใจ ประสิทธิ์พุทธพร, วันชัย รัตนวงษ์
>>Download ebook<<
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการของ บริษัท ฟอร์เวิร์ดเดอร์ กรณีศึกษา บริษัท S&A Inland
จำกัด เป็นการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการขนส่งสินค้าทางทะเล ทั้งกระบวนการภายใน คือ การ
ออกใบตราส่งสินค้า และกระบวนการภายนอก คือ การขนส่งสินค้าที่ว่าจ้างผู้ให้บริการรายอื่น (Outsource)
เพื่อทำการขนส่งสินค้าแทนบริษัท เช่น การเดินพิธีการศุลกากร และการรับบรรทุกสินค้าจากสถานที่ของ
ลูกค้า ปัญหาของการวิจัย คือ กระบวนการภายใน และกระบวนการภายนอกเกิดความล่าช้า ส่งผลให้ลูกค้า
ขาดความเชื่อมั่นในการใช้บริการของบริษัท ดังนั้นผู้วิจัยจึงทำการศึกษาแนวทางในการพัฒนาการให้บริการ
เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และศึกษาการลดขั้นตอน หรือลดระยะเวลาในการให้บริการ จาก
การศึกษาพบว่า ปัญหาการบริการล่าช้า มีสาเหตุมาจากกระบวนการภายในของ บริษัท S&A Inland จำกัด
คือ การออกใบตราส่งสินค้าซึ่ง ขาดเทคโนโลยีในการออกใบตราส่งสินค้า และกระบวนภายนอกของ
Outsource คือ การบริการด้านพิธีการศุลกากร Outsource ไม่เพียงพอ และการรับบรรทุกสินค้าของ
Outsource ใช้เวลาในการให้บริการนานในการรับสินค้าจากลูกค้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ลูกค้าขาดความเชื่อมั่น
ในการใช้บริการของบริษัท จากสาเหตุของปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางเลือกในการแก้ไข 3
แนวทางคือแนวทางเลือกที่ 1 สำหรับกระบวนการภายใน ได้แก่ การออกใบตราส่งสินค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์
โดยใช้ระบบ EDI สามารถลดระยะเวลาในการออกใบตราส่งจากแบบเดิมได้ถึง 16 ชม. 30 นาที หรือ 2 วัน
30 นาที หรือคิดเป็น 68.75% และเมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุน สามารถประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน
11,209 บาท/เดือน หรือคิดเป็นร้อยละ 21.76 ของต้นทุนการออกใบตราส่งสินค้าแบบปกติเดือนละ 800 ฉบับ
แนวทางเลือกที่ 2 การเปลี่ยน Outsource ใหม่ สามารถลดระยะเวลาในการรับบรรทุกสินค้าได้ถึง 8 ชมหรือ
1 วัน หรือคิดเป็น 33.33% จากของเวลาการใช้ Outsource เดิม และเมื่อทำการเปรียบเทียบต้นทุน
ค่าใช้จ่ายสามารถประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน 35,200 บาท/ปี หรือคิดเป็นร้อยละ 10.37 ของมูลค่า
ต้นทุนของ Outsource เดิม อีกทั้งสามารถมีมูลค่ากำไรเพิ่มขึ้นเป็น 494,500 บาท/ปี หรือคิดเป็น 87.98%
แนวทางเลือกที่ 3 การลงทุนใหม่เองเพิ่ม แทนการว่าจ้างผู้ให้บริการรายอื่น(Outsource) ซึ่งมูลค่าปัจจุบัน
สุทธิที่เป็นบวก รวมทั้งมีอัตราผลตอบแทนที่มากกว่า 0 และมีช่วงของการคืนทุน เพียงแค่ 1 ปี ซึ่งคุ้มแก่การ
ลงทุนเป็นอย่างยิ่ง โดยสามารถตัดสินใจใช้ทั้ง 3 แนวทางร่วมกันในลักษณะที่แต่ละวิธีจะส่งเสริม และเอื้อ
ประโยชน์ต่อกัน โดยจัดแบ่งการแก้ไขปัญหาออกเป็น 2 ระยะ คือ การแก้ไขปัญหาระยะสั้น ได้แก่แนวทาง
เลือกที่ 1 และแนวทางเลือกที่ 2 ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะกลางถึงระยะยาว ได้แก่แนวทางเลือกที่