การศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตระหนักถึงความสำคัญของ ปัญหาภาวะโลกร้อนของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าทางบกในประเทศไทย
สิตานัน ทูลกำธรชัย, ณัฐพร จินตพยุงกุล, บุษกร ตรีโชติ, ศิรเศรษฐ์ วิเศษสรรโชค, สาริทร รอดรำพึง, รศ.ดร.รุธิร์ พนมยงค์ (อาจารย์ที่ปรึกษา)
>>Download ebook<<
ในปัจจุบันประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมจัดเป็นประเด็นที่ทุกมุมโลกกำลังให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ทั้ง
ภาครัฐและภาคเอกชนที่ได้ตระหนักถึง ความจำเป็นในการนำเครื่องมือสำหรับการวัดผลการดำเนินงานด้าน
สิ่งแวดล้อมของการผลิตในแต่ละภาคอุตสาหกรรมเข้ามาประยุกต์ใช้มากยิ่งขึ้น โดยกิจกรรมโลจิสติกส์ที่เป็น
กิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกค่อนข้างมากคือ “การขนส่งสินค้า (Freight Logistics)”
เนื่องจากในกิจกรรมส่วนนี้ มักจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิด
ภาวะโลกร้อนนั่นเอง ดังนั้นการศึกษาเรื่องผลกระทบที่เกิดจากกระบวนการขนส่งสินค้าที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้น
จึงจัดเป็นประเด็นสำคัญที่คณะผู้จัดทำได้มีการหยิบยกและให้ความสนใจ ทั้งนี้เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือ การลด
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ถูกปล่อยออกสู่สภาพแวดล้อมอันจะนำไปสู่การเกิดขึ้นของภาวะโลกร้อนนั่นเอง
โดยทางคณะผู้จัดทำได้นำโมเดลของ Cordano และ Lampe 1975 และของ Bansal และ Roth 2000
มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับการศึกษา ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ประกอบไปด้วย 4 ปัจจัยหลักด้วยกัน คือ แรงขับ
ดันด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder environmental pressure)คือ ภาครัฐและภาค
ประชาชน, แรงขับดันด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้บริหารงานภายในองค์กร (Managerial values:
environmental awareness of managers) และ แรงขับดันด้านสิ่งแวดล้อมจากการลดลงของต้นทุนในการหัน
ไปใช้พลังงานทางเลือกทดแทนและนำไปสู่การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน(Cost Competitiveness)
ซึ่งทางคณะผู้จัดทำได้ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้แบบสอบถามทางโทรศัพท์(Telephone
Survey)จากผู้ให้บริการด้านการขนส่งทางบก (Freight Logistics)ในประเทศไทย ซึ่งมีการรวบรวมรายชื่อจาก
สมาคมผู้ให้บริการการขนส่งทางบกแห่งประเทศไทยได้เพียง 3,000 ราย(จากจำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,000
ราย) และได้ทำการประมวลผลโดยอาศัยเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผล คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิง
สำรวจ(Exploratory Factor Analysis) และการวิเคราะห์สมการถดถอย (Multiple Regression) โดยจากผล
การศึกษานั้นพบว่าแรงขับดันที่เกิดขึ้นจากภาครัฐ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อการตระหนักถึงความ
สำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อนนั่นเอง