กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์จังหวัดเชียงใหม่ต่อผลิตภัณฑ์จังหวัด

3687

สัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์จังหวัดเชียงใหม่ต่อผลิตภัณฑ์จังหวัด

รภัส มัชฌิมานนท์ และ อภิชาต โสภาแดง
>> Download ebook <<

การศึกษาวิจัยสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์ของจังหวัดเชียงใหม่ต่อผลิตภัณฑ์จังหวัด (Gross
Provincial Products : GPP) ณ ราคาประจำปี และราคาคงที่ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างตัวชี้วัด นำไปเป็นฐานใน
การจัดทำระดับโลจิสติกส์ของแต่ละจังหวัด ซึ่งสามารถใช้เปรียบเทียบกับจังหวัดอื่นได้ ทำให้แต่ละจังหวัดทราบ
ถึงความสามารถของการจัดการโลจิสติกส์และต้นทุนโลจิสติกส์จังหวัด และเพื่อเป็นเครื่องมือในการพิจารณา
กำหนดยุทธศาสตร์ของจังหวัด การวางแผนงานและโครงการต่างๆ ที่จะส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบโล-จิ
สติกส์ ซึ่งงานวิจัยครั้งนี้ได้นำการคำนวณต้นทุนของ Robert V. Delaney มาเป็นตัวแบบที่ใช้คำนวณ ซึ่งใน
การศึกษาของ Delaney ได้นำกิจกรรมโลจิสติกส์มหาภาค 6 กิจกรรมของ Stock and Lambert มาจัดกลุ่มเป็น
3 กลุ่มกิจกรรมหลักๆ ได้แก่ ต้นทุนการถือครองสินค้า (Carrying Costs) (จะเป็นผลรวมระหว่างต้นทุนการเก็บ
รักษาสินค้าคงคลัง (Warehousing and Inventory)) ต้นทุนค่าขนส่ง (Transportation Costs) และต้นทุนการ
บริหารจัดการ(Administration Costs) แต่ Delaney ไม่สามารถเก็บข้อมูลของค่าใช้จ่ายของการบริหารจัดการ
(Administration) ได้ จึงต้องใช้การประเมินค่าขึ้นมา โดยจะประมาณ 4% ของผลรวมระหว่างต้นทุนการถือครอง
สินค้า (Carrying Costs) และต้นทุนการขนส่ง (Transportation Costs) ในการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์ให้
เหมาะสมกับลักษณะ ชนิด และแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงแยกต้นทุนการถือครองสินค้า
(Carrying Costs) ออกเป็นต้นทุนการบริหารคลังสินค้าและต้นทุนการถือครองสินค้า (Warehousing and
Inventory Carrying Cost) จึงทำให้การคำนวณแบ่งเป็น 4 กิจกรรมหลักๆ คือ ต้นทุนค่าขนส่ง ต้นทุนการบริหาร
คลังสินค้า ต้นทุนการถือครองสินค้า และต้นทุนการบริหารจัดการ (Transportation, Inventory Carrying,
Warehousing and Administration Cost) ซึ่งผลการคำนวณต้นทุนโลจิสติกส์จังหวัดเชียงใหม่ต่อผลิตภัณฑ์
จังหวัด พบว่า ณ ราคาประจำปี ในปี 2002 มีสัดส่วนร้อยละ 16.13,ปี 2003 มีสัดส่วนร้อยละ 14.70 และปี 2004
มีสัดส่วนร้อยละ 16.13, ณ ราคาคงที่ ในปี 2002 มีสัดส่วนร้อยละ 22.78, ปี 2003 มีสัดส่วนร้อยละ 21.49 และปี
2004 มีสัดส่วนร้อยละ 21.07