กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดกระป๋อง

886

การประเมินประสิทธิภาพห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมข้าวโพดกระป๋อง

ณัฏฐรินดา ฐิติเจริญพงษ์*, ผศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง
>> Download ebook <<

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะนำเสนอการประเมินประสิทธิภาพการจัดการห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรม

ข้าวโพดกระป๋อง โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิเคราะห์แผนผังสายธารคุณค่า (Value Stream Analysis:

VSA) มาเป็นเครื่องมือเบื้องต้นในการช่วยให้มองเห็นภาพสถานะของกระบวนการปัจจุบันและเป็นแนวทางใน

การระบุสถานะที่ควรจะเป็นในอนาคต เพื่อปรับปรุงกระบวนการในโซ่อุปทานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมี

ขอบเขตการศึกษาตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมการเพาะปลูกไปจนถึงขั้นตอนการขนส่งสินค้าหรือข้าวโพดกระป๋องไป

ยังท่าเรือเพื่อการส่งออก ซึ่งข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยนี้ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกและสังเกตการณ์จากการ

ปฏิบัติงานจริงขององค์กรทุกส่วนที่เกี่ยวข้องตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานของบริษัทกรณีศึกษาตั้งแต่ เกษตรกรผู้

เพาะปลูกข้าวโพดหวาน ผู้รวบรวมหรือพ่อค้าคนกลาง โรงงานผู้ประกอบการผลิตข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง

และบริษัทขนส่งที่ทำการขนส่งผลิตภัณฑ์ข้าวโพดกระป๋องไปยังท่าเรือ โดยดำเนินการภายใต้กรอบของ

หลักการห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) และทำการสร้าง (Process Activity Mapping) ผลจากการศึกษาพบว่า

สามารถจำแนกกิจกรรมตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการเพาะปลูกข้าวโพดหวานไปจนถึงการขนส่งผลิตภัณฑ์

ข้าวโพดบรรจุกระป๋องไปยังท่าเรือเพื่อการส่งออกได้ทั้งหมด 13 กิจกรรม จากนั้นทำการวิเคราะห์จำแนก

กิจกรรมออกเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าเพิ่ม (VA) กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เกิดคุณค่าเพิ่ม (NNVA) และกิจกรรมที่

ไม่มีคุณค่าเพิ่ม (NVA) เพื่อกำจัดกิจกรรมที่ไม่เกิดคุณค่าออก จากการวิเคราะห์พบว่าจากกิจกรรมทั้ง 13

กิจกรรมนั้นสามารถจำแนกเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่าเพิ่ม (VA) 63.65% และกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เกิดคุณค่า

เพิ่ม (NNVA) 36.35% โดยระยะเวลาการดำเนินงานส่วนใหญ่สูญเสียไปกับกิจกรรมการขนย้าย และกิจกรรม

การรอคอยการตรวจสอบคุณภาพข้าวโพดหวาน นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังได้เสนอแนะแนวทางที่ควรจะ

ปรับปรุงระยะเวลาการดำเนินงานให้กับเกษตรกร โรงงานผู้ประกอบการผลิตข้าวโพดกระป๋อง รวมไปถึง

บริษัทผู้ขนส่งอีกด้วย