กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าประจำเส้นทาง ระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

1355

ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าประจำเส้นทาง ระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม

นายศุภมิตร ศรีสวัสดิ์, นายมานะ เชาวรัตน์
>> Download ebook <<

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้า (Liner) ประจำเส้นทาง
ระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์แบบ Conjoint Analysis และข้อมูล
ภาคสนามที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้บริการการขนส่งตู้สินค้า ประจำ
เส้นทางระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนาม โดยสร้างแบบสอบถามที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นลักษณะ
คำถามแบบ Discrete choice เพื่อนำข้อมูลจากการสำรวจไปวิเคราะห์หาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อ
การตัดสินใจเลือกใช้บริการจากผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้า โดยการพัฒนาแบบจำลองในรูปแบบของ Binary
Logit Model
ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ คือ การจัดการ
ส่งสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ หากผู้ประกอบการขนส่ง
ตู้สินค้ามีความสามารถในการจัดส่งสินค้าได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดมากขึ้นเท่าใด ก็จะสร้างความพึงพอใจ
ให้กับผู้ใช้บริการได้มากขึ้นตามไปด้วย โดยมีปัจจัยทางด้านตารางเวลาที่เหมาะสม และอัตราค่าระวางสินค้า
เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลรองลงมา โดยในส่วนของปัจจัยตารางเวลาที่เหมาะสม มีลักษณะของความสัมพันธ์
เหมือนปัจจัยด้านการจัดด้านการจัดส่งสินค้าภายในระยะเวลาที่กำหนด คือ หากมีตารางเวลาการเดินเรือที่
เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้บริการก็จะทำให้ผู้ใช้บริการมีความพอใจมากยิ่งขึ้น แต่รูปแบบ
ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางด้านอัตราค่าระวางสินค้านั้น รูปแบบความสัมพันธ์มีลักษณะในทิศทางตรงกันข้าม
กล่าวคือ ถ้าหากราคาค่าระวางสินค้าต่ำลงจะทำให้ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจมากยิ่งขึ้น ส่วนปัจจัยทางด้าน
โอกาสที่สินค้าจะเสียหาย หรือ สูญหายระหว่างการขนส่ง เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือก
ผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้าประจำเส้นทางระหว่างประเทศไทยและประเทศเวียดนามน้อยที่สุด โดยมีทิศทาง
ความสัมพันธ์ในลักษณะตรงกันข้าม คือ ถ้าหากผู้ประกอบการขนส่งตู้สินค้ามีความสามารถในการทำให้
โอกาสที่สินค้าจะเสียหายหรือสูญหายระหว่างการขนส่งลดลง จะส่งผลให้ผู้ใช้บริการมีความพอใจมากยิ่งขึ้น
โดยแบบจำลองที่ได้พัฒนาจากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีค่าความสอดคล้องของแบบจำลองอยู่ในระดับที่สูงกว่า
เกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้