กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การออกแบบผังการใช้ประโยชน์ภายในศูนย์กระจายสินค้า สี่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก

944

การออกแบบผังการใช้ประโยชน์ภายในศูนย์กระจายสินค้า สี่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลก

วรินทร์ วงษ์มณี, วันชัย รัตนวงษ์
>> Download ebook <<

จังหวัดพิษณุโลกได้ถูกกำหนดให้เป็นจุดเชื่อมทางยุทธศาสตร์เพียงจุดเดียวที่สามารถเชื่อมโยง
เส้นทางเศรษฐกิจตามแนวเหนือ-ใต้และตะวันออก-ตะวันตก เข้าด้วยกัน โดยประเทศไทยได้กำหนดบทบาทของ
ประเทศในการเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของภูมิภาคอาเชียน ภายในปี ค.ศ.2006 รัฐบาล
กำหนดให้โลจิสติกส์เป็นยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการแข่งขันที่ทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง (HUB) ที่เกี่ยวข้องกับ
การคมนาคมขนส่ง ศูนย์กระจายสินค้าของภูมิภาค โดยภาครัฐบาลเล็งเห็นว่า หากจะแข่งขันในเวทีการค้าโลก
จะต้องทำให้ประเทศไทยมีต้นทุนทางโลจิสติกส์ที่สามารถแข่งขันได้ โดยต้นทุนของโลจิสติกส์ของประเทศไทย
ขณะนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ประมาณ 20% ของ GDP หรือ 1.18 ล้านบาท ขณะที่สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่นมีต้นทุน
ของโลจิสติกส์ประมาณ 6 % ของ GDP
โดยในการออกแบบคลังสินค้าในศูนย์กระจายสินค้าได้พิจารณาถึงกลุ่มสินค้าและอุตสาหกรรมใน
จังหวัด โดย สามารถแยกเป็นกลุ่มสินค้าที่จะให้บริการได้ 3 กลุ่มหลัก ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าเกษตร กลุ่ม
สินค้าอุตสาหกรรม และกลุ่มสินค้าSMEs/OTOP ในการออกแบบเริ่มต้นด้วยการกำหนดข้อมูลของปริมาณและ
ลักษณะของสินค้าที่ให้บริการจัดเก็บ จากนั้นจะต้องกำหนดกิจกรรมต่างๆที่จะเกิดขึ้นในศูนย์กระจายสินค้าสินค้า
และหาความสัมพันธ์ของแต่ละกิจกรรม เพื่อนำไปสร้างแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ (Relationship Diagram)
แล้วจึงคำนวณหาขนาดพื้นที่ที่ต้องการและพื้นที่ที่มีอยู่จริง เพื่อสร้างแผนภูมิแสดงความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่
(Space Relationship Diagram) และนำมาพิจารณาข้อกำหนดต่างๆ พร้อมกับวิเคราะห์การไหลของกิจกรรม
ต่างๆในศูนย์กระจายสินค้า เพื่อนำมาสร้างเป็นผังการใช้ประโยชน์ต่อไป
จากผลการศึกษา สรุปว่าศูนย์กระจายสินค้ามีพื้นที่ประมาณ 128,000 ตารางเมตร (80 ไร่) ซึ่งภายใน
ศูนย์กระจายสินค้าประกอบด้วย คลังสินค้าเกษตรเป็นอาคารที่มีพื้นที่ 9,000 ตารางเมตร คลังสินค้าอุตสาหกรรม
และคลังสินค้า SMEs/OTOP ตั้งอยู่ในอาคารเดียวกันมีพื้นที่รวม 9,120 ตารางเมตร ภายในแบ่งพื้นที่สำหรับ
สินค้าอุตสาหกรรมขนาด 6,720 ตารางเมตร และสินค้า OTOP 2,400 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่การรับและการ
เตรียมจัดส่งสินค้าร่วมกันและพื้นที่สำหรับใช้วางตู้คอนเทนเนอร์ขนาดมาตรฐาน 20 และ 40 ฟุต มีขนาดพื้นที่
38,950 ตารางเมตร