SCHENKER โลจีสติกส์…มีดีที่ไอที…โดย วสุวัฒน์ ปันวรนุชกุล ดึงความรู้ สนับสนุนประสบการณ์ สร้างทีมไอทีเพื่อรองรับธุรกิจให้แข็งแกร่ง และต้องใช้ไอทีให้ตรงกับธุรกิจให้ได้มากที่สุด
ดึงความรู้ สนับสนุนประสบการณ์ สร้างทีมไอทีเพื่อรองรับธุรกิจให้แข็งแกร่ง และต้องใช้ไอทีให้ตรงกับธุรกิจให้ได้มากที่สุด
Executive Summary เช้นเกอร์ (ไทย) หนึ่งในผู้นำธุรกิจโลจีสติกส์ระดับโลก ที่ดำเนินธุรกิจโดยการนำไอทีเข้ามาช่วยให้ภาคการแข่งขันของข้อมูลรวดเร็วมาก ยิ่งขึ้น ตั้งแต่การลงทุนด้านระบบเครือข่าย สำหรับเชื่อมต่อทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งสามารถช่วยให้ลูกค้าเฝ้าติดตามการขนส่งได้อย่างใกล้ชิด
นอกจาก นี้ผู้จัดการไอทีของเช้นเกอร์ ยังมีวิสัยทัศน์ที่ดีต่อทีมไอทีในเรื่องการสนับสนุนการทำงาน รวมถึงเส้นทางเติบโตในอาชีพ เพราะเชื่อว่าการจ้างบุคลากรด้านไอทีไม่ควรจำกัดอยู่เพียงแค่การให้ค่าตอบ แทนที่เพียงพอ หรือการลงทุนเพราะกลัวว่าสักวันหนึ่งจะต้องไปจากบริษัท สิ่งเหล่านี้จะยิ่งทำให้องค์กรขาดซึ่งทีมไอทีที่ดี แต่ควรหันมาสนับสนุนอย่างเต็มที่มากกว่า เพื่อการพัฒนาทั้งบุคคลและองค์กร
——————————————————–
คุณผจงพร สิงหบำรุง
ผู้จัดการฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ บริษัท เช้นเกอร์ (ไทย) จำกัด
การ ค้าคงจะไม่ประสบความสำเร็จ หากลูกค้าคนสำคัญของคุณสั่งสินค้าแล้วแต่ยังไม่ได้รับเสียที ดังนั้นส่วนหนึ่งของธุรกิจที่ขาดไม่ได้ และอาจกลายเป็นหนึ่งในกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า ได้มากขึ้น นั้นคือ ระบบการขนส่งสินค้าที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันรูปแบบการจัดส่งสินค้านั้นมีหลากหลาย ทั้งซื้อแล้วจัดส่งเอง หรือจ้างผ่านตัวแทนจัดส่ง ที่เราเรียกกันติดปากเป็นภาษาอังกฤษว่า “บริการโลจีสติกส์” ซึ่งก็มีผู้ให้บริการด้านนี้อยู่จำนวนไม่น้อย ทำให้เกิดภาวะการแข่งขันสูง บริษัทที่แข็งแกร่งเท่านั้นจึงจะอยู่รอดได้ในยุคนี้
การจัดเตรียม กลยุทธ์ วิธีการบริหาร และดำเนินกิจการเพื่อให้ประสบความสำเร็จในธุรกิจโลจีสติกส์ โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีต่างๆ นั้นจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะพัฒนาธุรกิจให้เหนือคู่แข่ง Schenker (Thai) Ltd. หนึ่งในผู้ให้บริการด้านโลจีสติกส์ เป็นบริษัทที่เห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ มีการนำไอทีมาใช้ในการพัฒนาบริษัท เพื่อให้บริษัทมีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ถูกต้องและสามารถบริการลูกค้าได้เป็นที่น่าพอใจ เราจึงได้เข้าสัมภาษณ์ คุณผจงพร สิงหบำรุง เธอเป็นผู้บริหารหญิงไฟแรง ที่จะมาให้มุมมองใหม่ของไอทีสำหรับธุรกิจโลจีสติกส์
กว่าจะมาเป็น เชนเกอร์ไทย
Schenker เริ่มต้นเมื่อ ก๊อตต์ฟรีด เช้งเกอร์ ก่อตั้งบริษัทในปี พ.ศ. 2415 ที่กรุงเวียนนา ด้วยความคิดของการรวมการขนส่งรายย่อยเข้าเป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น อันเป็นต้นกำเนิดของการขนส่งแบบรวมกลุ่ม โดยเริ่มแรกจากการขนส่งทางรถไฟ ต่อมาจึงเป็นทางทะเล รถยนต์และอากาศซึ่งสามารถขนส่งได้รวดเร็วและถูกกว่า ความคิดนี้ช่วยให้อุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็วจากการกระจายสินค้าไปทั่ว ยุโรป เช้งเกอร์ก่อตั้งสำนักงานของตัวเองไว้ที่เมืองปลายทางทุกแห่ง โดยยึดหลักการที่ว่า “ขนส่งจากต้นทางถึงปลายทางในคราวเดียว”
ในปี พ.ศ. 2509 ในประเทศไทยนั้นเริ่มต้นเป็นเพียงสำนักงานสาขาเล็กๆ จนในที่สุดจึงก่อตั้งในรูปแบบบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2517 ปัจจุบันมีสำนักงานเครือข่ายอยู่ที่คลองเตยและท่าอากาศยานกรุงเทพฯ แหลมฉบัง เชียงใหม่ โคราช และที่อยู่ในส่วนดูแลของประเทศไทยอย่าง สาขาที่ย่างกุ้ง และกำลังเปิดสำนักงานใหม่ที่เวียงจันทน์
ในปี พ.ศ. 2538 เช้งเกอร์ไทยเป็นบริษัทขนส่งระหว่างประเทศรายแรกของประเทศไทยที่รับใบรับรอง ระบบคุณภาพ ISO9002 จาก RWTUV อันเป็นการดำเนินตามนโยบายของกลุ่มเช้งเกอร์ทั่วโลก โดยได้รับการรับรองในระบบการจัดการของการขนส่งระหว่างประเทศทางอากาศและทาง ทะเล การเดินพิธีการศุลกากร การเดินเรือ การบริหารแผนการจัดการด้านการขนส่งและคลังสินค้า ตลอดระยะเวลา 25 ปีที่ผ่านมาของเช้นเกอร์ไทย ขยายตัวตามเศรษฐกิจของประเทศ ยอดการให้บริการในปีพ.ศ. 2542 เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 1,000 ล้านบาท มีพนักงาน 280 คน (ในสำนักงาน 6 แห่ง) สามารถให้บริการขนส่งทางทะเล 1,400 ตู้คอนเทนเนอร์ และขนส่งทางอากาศ 800 ตันต่อเดือน และมีการใช้ระบบข้อมูลสารสนเทศทันสมัย เพื่อการติดต่อประสานงานกับสาขาทั่วโลกและส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว
ไอทีบนธุรกิจโลจีสติกส์
ใน เรื่องของการดำเนินธุรกิจ คุณผจงพร บอกกับเราว่า “เช้นเกอร์เปรียบเสมือนเป็นนายหน้าจัดส่งสินค้าและขายพื้นที่เช่าของเรือ บริษัทไม่มีเรือบรรทุกสินค้าเป็นของตนเอง แต่มีการทำสัญญาจองพื้นที่กับเรือบรรทุกสินค้า โดยบริษัทจะได้รับพื้นที่มาจำนวนหนึ่ง แล้วจึงหาลูกค้าที่ต้องการใช้บริการ ทำให้ลดภาระในเรื่องการวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในส่วนของเรือ รวมถึงในส่วนของสายการบินก็เป็นรูปแบบนี้เช่นเดียวกัน”
“การจัดส่ง สินค้าไม่จำเป็นว่าประเทศต้นทางและประเทศปลายทางที่ส่งและรับสินค้าต้องมี สาขาของบริษัทเชนเกอร์อยู่ในประเทศนั้นๆ หากประเทศใดไม่มีสาขาของบริษัทอยู่ ก็ใช้วิธีติดต่อกับตัวแทนภายในประเทศนั้นเพื่อทำงานร่วมกัน เช่น ในอินโดนีเซียมีการทำงานร่วมกับบริษัทตัวแทนอื่นด้วย ทางด้านประเทศไทยนั้นมีการควบคุมการดำเนินธุรกิจในประเทศลาวและพม่า ในส่วนของประเทศลาวนั้นสินค้าถูกบรรทุกมาประเทศไทยทางเรือ แล้วก็ถูกส่งต่อไปยังประเทศลาวทางรถต่อไป ส่วนพม่านั้นมีผู้บริหารระดับสาขาอยู่ โดยใช้การรายงานตรงมายังประเทศไทย เป็นการบริหารแทน” คุณผจงพร อธิบายเสริม
ถึงจุดหนึ่งที่ได้นำระบบ ไอทีมาใช้ภายในบริษัท คุณผจงพร อธิบายถึงขั้นตอนการประยุกต์ว่า “เมื่อธุรกิจเริ่มมีการขยายตัวและมีการแข่งขันกับบริษัทอื่นที่ดำเนินธุรกิจ ในรูปแบบเดียวกันมากขึ้น ทำให้บริษัทจำเป็นต้องหาวิธีการต่างๆ มาใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะเน้นการให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว บริษัทได้เล็งเห็นประโยชน์และความจำเป็นที่นำไอทีเข้ามาดำเนินการ โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2539 – 2540 นั้นได้เริ่มต้นกับระบบไอที และมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในหลายๆ ด้าน”
“ช่วงแรกๆ นั้น ระบบของแต่ละประเทศเป็นไปแบบของใครของมัน ซึ่งในการทำงานดำเนินธุรกิจของบริษัทจริงๆ แล้วเป็นไปในรูปแบบเครือข่ายมากกว่า ต้องมีการประสานงานกันระหว่างประเทศตลอดเวลา ในส่วนของประเทศต้นทางและประเทศปลายทางต้องติดต่อสื่อสารกันได้ จึงเกิดปัญหาในการรวมระบบของแต่ละประเทศเข้าด้วยกันในกรณีที่ระบบของแต่ละ ประเทศแตกต่างกัน จนต้องแก้ปัญหาด้วยวิธีที่เรียกว่า Regional Center ขึ้นมาใช้ โดยทำให้เป็นระบบแบบเดียวกัน นอกจากนั้นแล้วระบบของบริษัทยังต้องสามารถติดต่อและเข้ากันได้กับระบบของ ลูกค้าอีกด้วย” คุณผจงพร บอกถึงปัญหาหลักที่นำมาซึ่งการใช้ไอที
“ส่วนหนึ่งของเซิร์ฟเวอร์ที่เชื่อมต่อข้อมูลทั่วโลก ช่วยให้ลูกค้าติดตามสินค้าได้ตลอดเวลา”…>>
ใน เรื่องของนโยบายทางด้านไอทีนั้น คุณผจงพร เน้นว่า “นโยบายหลักรับมาจากบริษัทแม่ ในส่วนของซอฟต์แวร์ก็รับมาจากต่างประเทศเช่นเดียวกัน แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ในส่วนใดส่วนหนึ่งเพิ่มเติมเป็นพิเศษก็มีการจัดหา เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถทำงานได้ นอกจากนี้ยังมีบางส่วนที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อประยุกต์ให้เข้ากับสภาวะ แวดล้อมของการทำงานจริงอีกด้วย ในประเทศไทยเมื่อมีปัญหาต่างๆ ด้านไอทีเกิดขึ้น เป็นหน้าที่ของบุคลากรทางด้านไอทีในประเทศไทยที่ต้องแก้ไข แต่หากว่าไม่สามารถแก้ไขได้ก็สามารถขอความช่วยเหลือไปยังส่วนไอทีของประเทศ สิงคโปร์และที่ Schenker Support Center ในประเทศเยอรมันได้อีกด้วย ซึ่งโดยปกติแล้ว Schenker Support Center เป็นส่วนกลางที่มีหน้าที่ในการจัดการดูแลด้านไอทีให้กับทุกสาขา”
รูป แบบระบบการเชื่อมต่อส่วนใหญ่ระหว่างสาขาต่างๆ จะใช้เป็นเฟรมรีเลย์ ยกเว้นที่นครราชสีมา ซึ่งเป็นออฟฟิศขนาดเล็กใช้ VPN ผ่านทางอินเทอร์เน็ตแทนการใช้เฟรมรีเลย์ และในอนาคตอันใกล้นี้ก็จะมีการติดตั้งระบบ VPN ในประเทศลาวและพม่าต่อไป ส่วนการบริหารพนักงานนั้น สำหรับไทยมีจำนวนเพียง 6 คน ซึ่งดูแลและให้บริการในส่วนของระบบการทำงาน เครือข่ายเน็ตเวิร์ก ซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ รวมไปถึงการออกแบบระบบด้วย แต่ละคนนั้นสามารถทำงานได้ในหลายๆ ด้าน ปกติประจำอยู่ภายในออฟฟิศที่กรุงเทพฯ จำนวนคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานภายในสาขาของประเทศไทยนั้นรวมประมาณ 200 กว่าเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่กรุงเทพฯ หากคอมพิวเตอร์ที่สาขาใดก็ตามเกิดปัญหาขึ้น มีการแจ้งเข้ามายังสาขากรุงเทพฯ จากนั้นบุคลากรทางด้านไอทีที่อยู่ที่สาขากรุงเทพฯ ก็เป็นผู้ดำเนินการแก้ปัญหาต่อไป อาจรีโมตเข้าไปแก้ปัญหา ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปสาขานั้นด้วยตนเอง” คุณผจงพร อธิบายสภาพการทำงานด้านไอทีในเช้นเกอร์ให้ฟัง
“ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ ของเช้นเกอร์ ได้รับการพัฒนาโดยซอฟต์แวร์เฮ้าส์ที่บริษัทแม่มีการจ้างไว้ ส่วนไทยเองจะรับมาและดัดแปลงให้เข้ากับระบบการใช้งานจริง นอกจากนี้ยังสามารถส่งรายละเอียดของส่วนที่ต้องการเพิ่มเติมให้กับซอฟต์แวร์ เฮ้าส์ได้ด้วย โดยติดต่อไปยังศูนย์บริการในประเทศเยอรมัน เช่นในเรื่องของอินเทอร์เฟส มาตรฐานต่างๆ เพื่อให้สามารถให้บริการลูกค้าได้ แล้วก็ยังมีการว่างจ้างซอฟต์แวร์เฮ้าส์ในไทยเพื่อพัฒนาส่วนติดต่อกับระบบ ของกรมศุลกากรด้วยเช่นกัน” คุณผจงพร อธิบายถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์ ส่วนการลงทุนไอทีที่ผ่านมา คุณผจงพร ชี้แจงการวางงบประมาณว่า “งบประมาณในส่วนของไอทีแยกต่างหากจากงบประมาณในส่วนอื่นๆ บริษัทมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับทางด้านไอทีเป็นอย่างมาก เพื่อให้พัฒนาได้อย่างต่อเนื่องและสามารถทำงานบริการได้ดี โดยจะมีการรายงานไปยังผู้บริหารระดับต่างๆ หลายระดับ เช่น ผู้บริหารในประเทศไทย สิงคโปร์ หรือสาขาใหญ่ โดยขึ้นอยู่กับงบประมาณนั้นว่ามีมูลค่ามากน้อยเพียงไร”
แนวโน้มและทิศทางไอทีในอนาคต
เช้นเกอร์ มีแนวความคิดในการพัฒนาด้านไอทีเพื่อให้มีความทันสมัย และสามารถรองรับลูกค้าได้มากขึ้น ซึ่งมีโครงการพัฒนาระบบเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่เป็นเพียงผู้ส่งสินค้า ระหว่างประเทศ ได้เพิ่มบริการในส่วนของโลจีสติกส์ภายในประเทศผ่านสินค้าจากต่างประเทศด้วย ทางทะเลและทางอากาศนั้น ในเรื่องนี้คุณผจงพร ให้ความเห็นว่า “บริษัทต้องการรวมระบบต่างๆ ให้เป็นระบบเดียวกัน ซึ่งในขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นจัดเตรียมและสำรวจความต้องการของระบบที่จะเกิด ขึ้นจากสาขาต่างๆ ในประเทศทั่วโลก เพื่อให้ตรงกับความต้องการในการทำงานจริงของแต่ละสาขา ซึ่งเรียกโครงการนี้ว่า โครงการ SALSA หรือ Schenker’s Application for Logistics in Sea and Airfreight ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาหนึ่งในการอิมพลีเมนต์ระบบขึ้นมาใช้งาน”
<<…”ทีมไอทีแม้มีเพียง 6 คน แต่ช่วยกันดูแลทั้งระบบให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอยู่ตลอดเวลาของเช้นเกอร์ไทย”
“บริษัท มีนโยบายที่จะเชื่อมต่อเครือข่ายของสาขาต่างๆ เช่นในพม่าเข้ากับประเทศไทย ในส่วนของประเทศไทยนั้นนอกจากโครงการ SALSA แล้ว บริษัทยังมีโครงการนำระบบ GPS มาใช้ร่วมกับรถขนส่งอีกด้วย เนื่องจากบริษัทมีบริการโลจีสติกส์ ด้านการกระจายและแจกจ่ายสินค้า และระบบคลังสินค้าด้วย เพื่อให้บริการด้านนี้แก่ลูกค้าได้ เมื่อนำระบบ GPS แล้วจะทำให้สามารถติดตามสินค้าที่บรรทุกกับทางเรือหรือสายการบินได้ว่า สินค้านี้เดินทางไปถึงไหนแล้ว ลูกค้าสามารถตรวจสอบได้โดยดูผ่านทางอินเทอร์เน็ต” คุณผจงพร บอกถึงการลงทุนในปี พ.ศ. 2546
“นอกจากนี้แล้วบริษัทยังให้ความ สำคัญในส่วนของแบ็กออฟฟิศ ไม่ว่าจะเป็นด้านของทรัพยากรบุคคล และด้านของระบบปฏิบัติการ ทางบริษัทแม่ของบริษัทเช้นเกอร์มีสัญญากับไมโครซอฟท์ ทำให้สามารถซื้อซอฟต์แวร์ต่างๆ ได้ในราคาถูกกว่าปกติ ขณะนี้ทางบริษัทกำลังเตรียมพร้อมที่จะเปลี่ยนมาใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส 2000 ซึ่งได้มีการวางแผนพัฒนาและให้ความรู้แก่พนักงาน เพื่อเตรียมตัวรองรับกับมาตรฐาน ISO 9002 ซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่ใช้มีทั้งมาจากต่างประเทศและพัฒนาขึ้นเอง ซอฟต์แวร์ระบบที่พัฒนาขึ้นเอง ได้แก่ ซอฟต์แวร์ระบบบัญชี ซอฟต์แวร์ที่ใช้ติดต่อกับกรมศุลกากร โดยมีการว่าจ้างบริษัทซอฟต์แวร์เฮาส์ภายนอกมาพัฒนาซอฟต์แวร์เหล่านี้ ทางส่วนของฐานข้อมูลก็มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงเพื่อรองรับฐานข้อมูลที่มาก ขึ้น เนื่องจากในตอนแรกที่มีการสร้างซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมาไม่ได้คำนึงถึงใน เรื่องการขยายขนาดของฐานข้อมูลในอนาคตเท่าที่ควร” คุณผจงพร บอก
เป้าหมายของการลงทุนด้านไอที
ด้วย ความเป็นบริษัทที่มีสาขาในประเทศต่างๆ มากมาย ทำให้มีการเชื่อมต่อกันของระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กและระบบคอมพิวเตอร์ เมื่อบริษัทได้มีการให้บริการด้านโลจีสติกส์ทำให้บริษัทต้องรับบทบาทเป็น เสมือนผู้จัดเตรียมและให้บริการด้านข้อมูลเพิ่มขึ้น บริษัทต้องการให้ลูกค้าได้รับความสะดวกสบายในการดำเนินธุรกิจและสร้างความ มั่นใจแก่ลูกค้าในการใช้บริการของทางบริษัท มีการสร้างขบวนการและขั้นตอนต่างๆ เช่น SWORD EDI การแทรคกิ้งและเทรซซิ่ง การทำบาร์โค้ด และการติดต่อสื่อสารแบบไร้สาย เป็นต้น โดยมีระบบ SWORD (Schenker Worldwide Online Real-time Data Network) เป็นระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์กที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันของสาขาทั่วโลก ส่วน EDI (Electronic Data Interchange) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างทางบริษัทกับลูกค้า นอกจากนี้ยังมี Freight Data Processing Systems ระบบในการรวบรวม ทำขั้นตอนและส่งข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ILS (Integrated Logistics System) ระบบที่รวบรวมบริการต่างๆ ทางด้านโลจีสติกส์และ Warehouse Management System ระบบการจัดการด้านคลังสินค้า
เมื่อพิจารณาดู เรื่องของจำนวนในส่วนของบุคลากรทางด้านไอทีนั้น คุณผจงพร เห็นว่าที่มีจำนวนน้อยนั้น เนื่องจากทางบริษัทมีแนวคิดว่าหากสามารถจัดการกับระบบและขั้นตอนต่างๆ ให้เป็นระเบียบจะทำให้ควบคุมดูแลได้ง่าย ไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้บุคลากรจำนวนมากเพื่อดูแลและให้บริการด้านไอที นอกจากนั้นแล้วบุคลากรทางด้านไอทีแต่ละคนสามารถรับผิดชอบงานในส่วนต่างๆ แทนคนอื่นได้อีกด้วย
ระบบต่างๆ ด้านไอทีที่ทางบริษัทสร้างขึ้นมาก็เพื่อมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจ ตามแนวความคิด “Door-to-door service in one hand” ซึ่งนับเป็นแรงดึงดูดหนึ่งให้ลูกค้าสนใจใช้บริการ เนื่องจากในปัจจุบันมีการแข่งขันสูงมาก ไม่ว่าด้านของราคาค่าบริการ การบริการ และเทคโนโลยีที่นำมาใช้ นอกจากนี้แล้วระบบที่สร้างขึ้นยังช่วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพ ลดความยุ่งยากลงและมีส่วนในการพัฒนาและเสริมสร้างบริษัทให้มีความเจริญก้าว หน้าต่อไปอีกด้วย และทางบริษัทมีการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาเพื่อพัฒนาการให้บริการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง
อย่างไรก็ตามการนำ ไอทีมาใช้ในบริษัทหรือองค์กรใดๆ นั้นจะได้ผลประโยชน์กลับคืนมาจากการลงทุนมากน้อยเพียงไรนั้นขึ้นอยู่กับองค์ ประกอบและปัจจัยหลายอย่าง เช่น การนำความรู้ด้านไอทีมาใช้นั้นตรงกับความต้องการของระบบภายในบริษัทหรือไม่ และสามารถใช้ไอทีได้คุ้มค่ามากน้อยเพียงไร ผู้บริหารเห็นความสำคัญของการนำไอทีมาใช้หรือเปล่า สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับระบบการทำงานในองค์กรตรงประเด็นหรือไม่ และบุคลากรทางด้านไอทีมีความรู้ ความชำนาญแค่ไหน เป็นต้น ฉะนั้นการจะนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดผลมากที่สุด คงต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆ ฝ่ายเป็นสำคัญ
สุดท้ายคุณ ผจงพร ฝากไว้ก็คือ “บุคลากรด้านไอทีส่วนใหญ่ บริษัทจะมองว่าไม่ควรสนับสนุน เพราะเมื่อเก่งขึ้นก็จะไปหาองค์กรที่ใหญ่กว่าไปเรื่อยๆ ตรงนี้คือสิ่งที่ยิ่งทำให้ทีมไอทีจากไปเร็วขึ้น หากเราเปลี่ยนจากการให้เขาทำอยู่เฉยๆ เป็นสนับสนุน พูดคุยกันว่าใจจริงต้องการทำอะไร ให้เขาทำในสิ่งที่ต้องการ อยากเล่นเซิร์ฟเวอร์ตัวใดก็ให้ทดลองดูได้ เมื่อเขารักในสิ่งที่เขาทำ รวมถึงสามารถพัฒนาตัวเองได้ตลอดเวลา เขาจะรักในองค์กรและไม่จากไป”
ทั้ง หมดนี้คือส่วนหนึ่งของรูปแบบการใช้และการวางแผนไอทีผ่านมุมมองของธุรกิจโลจี สติกส์ ที่ต้องอาศัยการควบคุมตัวแปรภายในระบบธุรกิจจำนวนมาก ตั้งแต่รถขนส่ง รูปแบบการจัดส่ง การศุลกากร เวลา สิ่งเหล่านี้หากไม่มีการประสานให้เกิดความร่วมมือที่ดีแล้วธุรกิจโลจีสติกส์ ของไม่ประสบความสำเร็จอย่างแน่นอน ดังตัวอย่างของเช้นเกอร์ที่ต้องการนำ GPS มาควบคุมการขนส่งให้ดีขึ้น รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายให้เกิดการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นก็ช่วย ผลักดันให้การดำเนินธุรกิจประสบความสำเร็จ