การศึกษาการค้าไทย-ลาว ณ จุดที่มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 ในบริบทของวัฒนธรรมเศรษฐกิจ
ดร.ชลิศา รัตรสาร และ ดร.วรรณรัตน์ วัฒนานิมิตกูล
>> Download ebook <<
นับตั้งแต่เมื่อ สปป.ลาว ได้รับเอกราช ใน พ.ศ. 2497 เป็นต้นมา สปป.ลาวเปิดประตูทางการค้าระหว่างไทย – ลาว มากขึ้น ภายหลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2518 ลาวดำเนินนโยบายเสรีนิยมทางการค้า การค้าไทย – ลาว จึงเติบโตขึ้นมาได้อย่างต่อเนื่อง
ด่านการค้าที่มีปริมาณการค้าสูงที่สุด คือ ด่านจังหวัดหนองคาย ด่านจังหวัดมุกดาหาร ด่านจังหวัดนครพนม และด่านอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จากการสำรวจสถิติการค้า พบว่า มูลค่าการค้าไทย – ลาว ขยายตัวสูงขึ้นมากนับจาก พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ลาวนำเข้าสินค้าจากไทยสูงถึงร้อยละ 51.9 ของมูลค่าการนำเข้าจากทั่วโลก รวมทั้ง การส่งออก – นำเข้า และสินค้าผ่านแดน ในขณะเดียวกัน ก็มีสินค้าไทยที่ลาวนำเข้าไปในลาวร้อยละ 22.1 ของการนำเข้าทั้งหมด ที่เหลืออีกร้อยละ 77.9 ส่งต่อออกไป (Re – Export) ยังประเทศที่สามในลักษณะสินค้าผ่านแดน
สัมพันธภาพทางการค้าไทย – ลาว มีความแนบแน่นมากที่สุด ใน พ.ศ. 2532 – 2533 เพราะลาวมุ่งที่จะเปิดประเทศอย่างแท้จริง (ชลิศา รัตรสาร, 2549, น.10) ส่วนไทยมุ่งที่จะส่งเสริมการทำธุรกิจกับอินโดจีนโดยเฉพาะลาว นับจาก พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา ภายหลังความพิพาทที่ไทยมีต่อลาวในเวลานั้นออสเตรเลียให้เงินกู้ให้ไทยสร้างสะพานมิตรภาพ – ลาว