กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: โครงงานการจัดสร้างเครื่องมือวินิจฉัยความสามารถทางด้านโลจิสติกส์ สำหรับผู้ประกอบการ

891

โครงงานการจัดสร้างเครื่องมือวินิจฉัยความสามารถทางด้านโลจิสติกส์ สำหรับผู้ประกอบการ

ธนิดา สุนารักษ์, พัฒนพงษ์ แสงหัตวัฒนา, วรพจน์ มีถม2, ธราธร กูลภัทรนิรันดร์ 2, สมชาย วงศ์รัศมี ,กรกฏ ใยบัวเทศ ,กิตติพงศ์ วิเวกานนท์ ,นคร ทิพยาวงศ์ ,เผ่าภัค ศิริสุข
>>Download ebook<<

โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อจัดสร้างเครื่องมือวินิจฉัยความสามารถทางด้านโลจิสติกส์ สำหรับผู้ประกอบ
การ หรือ โลจิสติกส์สกอร์การ์ด (Logistics Scorecard) ซึ่งทำการพัฒนาขึ้นจาก SCM Logistics scorecard
(LSC) (Yaibuathet, et al. ,2006) ภายใต้กรอบปัจจัยชี้วัดที่เหมาะสมในการวินิจฉัยระดับความสามารถ
ทางด้านโลจิสติกส์สำหรับ SMEs ของประเทศไทย (ธนิดา และคณะ,2007) โดยผ่านกระบวนการประเมินและ
การทดสอบเครื่องมือดังกล่าว จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ 2 ครั้ง ครั้งแรกมีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 29 ตัวอย่าง
ส่วนครั้งที่ 2 มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 75 ตัวอย่าง ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านซัพพลายเชนและ
โลจิสติกส์ ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และ ผู้ประกอบการ SMEs ทั้งในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต กลุ่ม
อุตสาหกรรมการบริการ และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้สนับสนุนด้านโลจิสติกส์ ผลจากการประเมินและการทดสอบ
เครื่องมือดังกล่าว ทำให้ได้เครื่องมือวินิจฉัยความสามารถทางด้านโลจิสติกส์สำหรับผู้ประกอบการ หรือ
โลจิสติกส์สกอร์การ์ด ชุดมาตรฐาน (Standard) พร้อมทั้งคู่มือประกอบการใช้งาน โดยสามารถแบ่งได้เป็น 3
ชุดย่อย แยกตามกลุ่มอุตสาหกรรมคือ กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ให้บริการ และกลุ่ม
อุตสาหกรรมผู้สนับสนุนด้านโลจิสติกส์ ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะเฉพาะทางธุรกิจที่ต่างแตกกันออกไป