แนวทางการลดความสูญเสียต้นทุนจากสินค้าไม่ได้คุณภาพเพื่อเพิ่มความสามารถ แข่งขันทางการค้า กรณีศึกษาบริษัท บริษัท ไมอามี่โค้ท จำกัด
ดามภ์ สุวรรณหงส์ , วันชัย รัตนวงษ์
>>Download ebook<<
บริษัท ไมอามี่โค้ท จำกัด เป็นบริษัทชั้นนำในการผลิตและขายสินค้าประเภทสารเคลือบกระป๋องใน
ประเทศไทยและส่งออกไปยังต่างประเทศ แต่เนื่องจากปัจจุบันบริษัทได้ประสพกับปัญหาคุณภาพของสินค้า
นั่นคือการเกิดสินค้าไม่ได้คุณภาพเป็นจำนวนมาก และต่อเนื่อง อย่างเห็นได้ชัดทำให้เกิดการสูญเสียต้นทุน
และเวลาจำนวนมาก มีผลกระทบต่อการแข่งขันทางธุรกิจ ดังนั้นทางบริษัทได้ค้นหาสาเหตุของปัญหาและหา
แนวทางการแก้ไขปัญหา เพื่อลดความสูญเสียที่เกิดขึ้น ทั้งต้นทุนการผลิตและเวลาในการผลิต เพื่อลดต้นทุน
เพิ่มผลกำไรของบริษัท และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้า โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ เพื่อลดการ
สูญเสียต้นทุนทั้งหมดจากการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐาน เพื่อพัฒนากระบวนการผลิต การจัดการ
ด้านการจัดเก็บ และ เพื่อลดเวลาการสูญเสียในกระบวนการผลิตสินค้า
จากการศึกษาพบว่า ปัญหาของการสูญเสียที่เกิดจากสินค้าไม่ได้คุณภาพ 3 ประเภทคิดเป็นจำนวนเงิน
เท่ากับ 56 ล้านบาท มีปริมาณเท่ากับ 4% ของสินค้าที่ผลิตได้ทั้งหมด นับว่าเป็นการสูญเสียที่มีปริมาณมาก และ
พบอีกว่า มีสาเหตุที่ทำให้เกิดการสูญเสียหลายประการ โดยสาเหตุหลักเกิดจาก วิธีการปฏิบัติงาน ในส่วนการผลิต
และตรวจสอบคุณภาพของสินค้า สภาพแวดล้อมของอากาศ วัตถุดิบ เครื่องมือและอุปกรณ์ และการพัฒนาคุณภาพ
ของสินค้า จากการศึกษาได้ข้อสรุปแยกตามประเภทของสินค้า โดยการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่ทันสมัยมาใช้ในการ
ตรวจสอบคุณภาพมากขึ้น และการดำเนินกลยุทธ์ที่สร้างแรงจูงใจให้กับพนักงาน ทำให้สามารถลดความสูญเสียที่
เกิดจากสินค้าไม่ได้คุณภาพ และยังได้ผลกำไรมากขึ้น จากการแก้ไขปัญหาของสินค้าประเภท WHITE
COATING ตามแนวทางที่กำหนดสามารถลดมูลค่าความสูญเสียรวมทั้งสิ้น 24,054,000 บาท หรือ 84% ของ
มูลค่าความสูญเสียทั้งหมด 28,800,000 บาท และหลังจากหักเงินลงทุนซื้อเครื่องมือตรวจวัดเฉดสีแล้ว จะได้รับ
ผลประโยชน์สุทธิ 24,615,000 บาท จากการแก้ไขปัญหาของสินค้าประเภท LACQUER ตามแนวทางแก้ไขที่
กำหนดทั้งหมดสามารถลดมูลค่าความสูญเสียรวมทั้งสิ้น 17,010,000 บาท หรือ 78% ของมูลค่าความสูญเสีย
ทั้งหมด 21,800,000 บาท และจากการแก้ไขปัญหาของสินค้า VARNISH ตามแนวทางแก้ไขที่กำหนดทั้งหมด
สามารถลดมูลค่าความสูญเสียรวมทั้งสิ้น 2,760,000 บาท หรือ 83% ของมูลค่าความสูญเสียทั้งหมด 3,300,000
บาท จากการศึกษาแนวทางการลดความสูญเสียต้นทุนสินค้าไม่ได้คุณภาพทั้งหมดะสามารถลดความสูญเสียได้
รวมทั้งสิ้น 45,985,800 บาท หรือ 87% ของมูลค่าความเสียหายก่อนทำการแก้ไข 52,600,000 บาท