กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลาเพื่อการพยากรณ์ปริมาณผลผลิต กุ้งขาวแวนาไมและกุ้งกุลาดำ

734

เทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลาเพื่อการพยากรณ์ปริมาณผลผลิต กุ้งขาวแวนาไมและกุ้งกุลาดำ

สมหญิง โชติศักดิ์, รวิพิมพ์ ฉวีสุข
>>Download ebook<<

งานวิจัยนี้ศึกษาเปรียบเทียบการพยากรณ์ปริมาณผลผลิตกุ้งขาวแวนาไมและกุ้งกุลาดำในการ
พยากรณ์ระยะสั้น (1 เดือนล่วงหน้า) และระยะยาว (1 ปีล่วงหน้า) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์อนุกรมเวลา
ระหว่างวิธีปรับเรียบทางสถิติ 2 วิธี คือ วิธีปรับให้เรียบฤดูกาลแบบบวก และวิธีปรับให้เรียบฤดูกาลแบบคูณ
กับแบบจำลองเครือข่ายประสาทเทียมแบบส่งถ่ายข้อมูลย้อนกลับ (Backpropagation neural network; BPN)
จากการศึกษาโดยใช้ข้อมูลปริมาณผลผลิตกุ้งขาวแวนาไมและกุ้งกุลาดำ จากใบกำกับจำหน่ายสัตว์น้ำของ
กรมประมง ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ถึง เดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 พบว่าแบบจำลองจากวิธีปรับให้
เรียบฤดูกาลแบบคูณให้ผลการพยากรณ์ถูกต้องมากกว่าวิธีปรับให้เรียบฤดูกาลแบบบวก เมื่อนำแบบจำลองนี้
มาเปรียบเทียบกับแบบจำลอง BPN พบว่า โดยรวมแล้วแบบจำลอง BPN มีความถูกต้องในการพยากรณ์
ปริมาณผลผลิตกุ้งขาวแวนาไมและกุ้งกุลาดำทั้งระยะสั้นและระยะยาวสูงกว่า ในขณะที่มีความลำเอียงน้อย
กว่าและยังพบว่าการพยากรณ์ล่วงหน้า 1 เดือน ให้ค่าพยากรณ์ที่มีความถูกต้องสูงกว่าการพยากรณ์ล่วงหน้า
1 ปี