มูลค่าของข้อมูลด้านจราจรและปัจจัยในการเลือกใช้ข้อมูล
มาลัย โพธิพันธ์, ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล, ณกร อินทร์พยุง
>>Download ebook<<
ปัญหาจราจรเป็นปัญหาสำคัญของกรุงเทพมหานคร เนื่องจากการย้ายถิ่นที่อยู่เข้าสู่สังคมเมืองและ
พฤติกรรมการเดินทาง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาด้านการจราจร อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้
พยายามแก้ปัญหาจราจร โดยมีมาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาปัญหา อาทิเช่น การสร้างรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ซึ่ง
ช่วยลดความแออัดของจราจรได้ระดับหนึ่ง แต่ปัญหาด้านจราจรก็ยังคงมีอยู่และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่าง
ต่อเนื่อง
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูล ซึ่งมูลค่าของเวลาของ
ผู้บริโภคต่าง ๆ ไม่เท่ากัน และความยินดีจ่าย นำไปสู่การบริหารจัดการข้อมูลด้านจราจรที่ผู้บริโภคสามารถ
เข้าถึงข้อมูลและนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการศึกษาตลอดจนเชิงพาณิชย์และอื่น ๆ อาทิเช่น การนำข้อมูลจราจร
ไปใช้การวางแผนเส้นทางและจัดตารางเวลาด้านการขนส่งและกระจายสินค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเพิ่ม
ประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์โดยใช้ข้อมูลจราจรที่มีอยู่ ตลอดจนใช้ข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และวางแผนจัดการ
ปัญหาจราจร เป็นต้น
จากแนวทางการแก้ไขปัญหาจากการรวบรวมงานวิจัยต่าง ๆ พบว่า หลายประเทศพยายามที่จะนำเอา
เทคโนโลยีเข้ามาใช้ โดยเฉพาะระบบฐานข้อมูล ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะถูกนำไปใช้ให้เกิด
ประโยชน์ทั้งภาคธุรกิจและภาคการศึกษา อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงข้อมูล และการรวมข้อมูลที่มีอยู่ใน
ภาคเอกชนและภาครัฐของประเทศไทยเข้าด้วยกัน ยังมีข้อจำกัดอยู่ อีกทั้งการการจัดการข้อมูลและการขอ
อนุญาตนำข้อมูลไปใช้ในเชิงพาณิชย์ยังทำได้ยากและติดขัดเงื่อนไขหลายประการ ดังนั้น เพื่อการจัดการ
จราจรที่ดีและยั่งยืน การพัฒนาระบบสารสนเทศและการมีหน่วยงานที่สามารถบริหารจัดการข้อมูลจราจร ที่
สามารถอำนวยความสะดวกเรื่องข้อมูลจราจรในระดับต่าง ๆ มีความหลากหลายและทันสมัย นำมาจากหลาย
หน่วยงาน ผู้บริโภคสามารถนำไปใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ จึงเป็นสิ่งสำคัญ ควรที่จะทำการศึกษาหารูปแบบ
การบริหารจัดการที่เหมาะสมกับประเทศไทยต่อไป อีกทั้งเป็นการเตรียมความพร้อมและรองรับการพัฒนา
ด้านโลจิสติกส์ และแก้ปัญหาด้านจราจรและขนส่งอย่างยั่งยืน ให้สมกับที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางทางด้าน
โลจิสติกส์สำหรับภูมิภาคนี้ในอนาคต