กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การศึกษาการให้ความสำคัญของโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ ของหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย

760

การศึกษาการให้ความสำคัญของโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ ของหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย

วรพจน์ มีถม, วงวุธ มหามิตร, มณฑิรา โหนแหยม, กนกกาญจน์ ขวัญนวล
>>Download ebook<<

การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทยในปัจจุบันแต่ละหลักสูตรให้ความสำคัญ
กับโลจิสติกส์ในด้านต่างๆ อย่างไร หากแบ่งหมวดหมู่ของงานด้านโลจิสติกส์ออกเป็น 7 หมวด คือ 1) การ
จัดการด้านการขนส่ง 2) การจัดการโซ่อุปทาน 3) การจัดการโลจิสติกส์ภายในโรงงาน 4) การนำเทคโนโลยี
ต่างๆ มาใช้ในงานด้านโลจิสติกส์ 5) การจัดการกลยุทธ์ด้านโลจิสติกส์ขององค์กร 6) การตัดสินใจในงาน
ด้านโลจิสติกส์ 7) การจัดการและการพัฒนาองค์กร โดยพิจารณาจากการจัดกลุ่มกิจกรรมด้านโลจิสติกส์ต่างๆ
และวิชาที่เปิดในหลักสูตรโลจิสติกส์ในประเทศไทย แล้วนำไปให้เจ้าของหลักสูตรแต่ละหลักสูตรได้เปรียบ
เทียบหลักสูตรตนเองกับหมวดหมู่ต่างๆ เป็นคู่ๆ ตามแนวทางของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
(Analytic Hierarchy Process, AHP) จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ แสดงให้เห็นว่าหลักสูตรโลจิสติกส์ใน
ประเทศไทยในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่ให้ความสำคัญในหมวดหมู่ด้านการจัดการด้านการขนส่ง ซึ่งประกอบด้วย
การขนส่งสินค้า การกระจายสินค้าทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การขนถ่าย
และการบริการลูกค้าต่าง ๆ เช่น การส่งมอบสินค้า หรือการบริการหลังการขายรวมถึงการ Reverse Logistics
ส่วนหมวดหมู่ที่หลักสูตรในประเทศไทยให้ความสำคัญน้อยที่สุด คือ หมวดหมู่ด้านประกอบด้วยการพัฒนา
บุคลากรโลจิสติกส์ ด้านการบัญชีด้านการเงิน ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านการจัดการและการพัฒนาองค์กร ซึ่ง
ประกอบด้วย เรื่องเกี่ยวกับภาษีอากร และด้านพฤติกรรมองค์กรที่ เกี่ยวข้องกับงานด้านโลจิสติกส์ตลอดจน
ด้านการตลาด และงานด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์