กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจเพื่อจัดการระบบสารสนเทศสำหรับ การวางแผนการผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะ

853

การวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจเพื่อจัดการระบบสารสนเทศสำหรับ การวางแผนการผลิต กรณีศึกษา โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะ

ชนนิกานต์ รอดมรณ์ , ดวงพรรณ กริชชาญชัย
>>Download ebook<<

การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน การตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการ
ตัดสินใจทางธุรกิจ โดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต ที่ต้องผลิตสินค้าในทันกับความต้องการของลูกค้า
ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจของโรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะในปัจจุบันพบว่า แผนการผลิตที่
ฝ่ายวางแผนการผลิตได้จัดทำขึ้นนั้น คลาดเคลื่อนกับสภาพความเป็นจริง เนื่องจากไม่มีการรับรายงานการ
ผลิตประจำวันมาจากฝ่ายผลิต และแผนการผลิตก็เป็นแผนที่จัดทำขึ้นเป็นรายสัปดาห์ ซึ่งเมื่อมีเหตุการณ์
จำเป็นที่ต้องมีการปรับแผน ฝ่ายวางแผนจึงไม่สามารถปรับแผนได้อย่างทันท่วงที โดยจะปรับแผนการผลิต
และวางแผนการผลิตเป็นรายสัปดาห์ไปพร้อม ๆ กัน
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวาง
แผนการผลิต ในอุตสาหกรรมการผลิตบรรจุภัณฑ์โลหะ ซึ่งระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนการผลิตที่
นำเสนอนี้ เป็นการเลียนแบบแนวความคิดในการวางแผนการผลิตของผู้วางแผนการผลิตในปัจจุบัน โดย
ขั้นตอนการคำนวณแผนการผลิตเริ่มต้นจากการจัดลำดับความสำคัญของใบสั่งผลิต โดยใช้เกณฑน์กำหนดส่ง
สินค้าเร็วที่สุด ลำดับความสำคัญของลูกค้า และพิจารณาผลิตสินค้าในสายการผลิตเดิมก่อน ตามลำดับ โดย
เป็นการวางแผนการผลิตในแต่ละสายการผลิตว่าจะผลิตสินค้าตัวใด ต้องเริ่มทำและสิ้นสุดในเวลาใด ซึ่งเมื่อได้
การวางแผนการผลิตออกมาแล้ว หากมีเหตุการณ์จำเป็นที่ต้องมีการปรับแผน เช่น มีงานใหม่เข้ามาของลูกค้า
ที่มีความสำคัญกว่า ก็จะสามารถทำการปรับแผนการผลิตรายวันได้ ซึ่งไม่ทำให้งานอื่น ๆ เกิดความล่าช้า
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนการผลิต ที่สามารถปรับแผนการผลิตใหม่ได้
โดยใช้ภาษา Visual Basic.NET ภายใต้เครื่องมือในการพัฒนาระบบคือ Microsoft Visual Studio.NET 2005
ใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูลของ Microsoft SQL Sever 2005 ในการจัดการฐานข้อมูล และใช้โปรแกรม
Crystal Report เป็นเครื่องมือในการสร้างรายงานสำหรับระบบ ซึ่งระบบสารสนเทศสำหรับการวางแผนการ
ผลิตที่ได้นี้ จะช่วยลดขั้นตอนและเวลาที่ใช้ในการวางแผนการผลิตลงได้ ซึ่งกระบวนการวางแผนการผลิต
แบบเดิมตั้งแต่ขั้นตอนการค้นหาข้อมูลสินค้า, เครื่องจักร, กำลังการผลิต และขั้นตอนการคำนวณเวลาที่ใช้ใน
การผลิต จนกระทั่งส่งแผนการผลิตให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องนั้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 2.30 ชั่วโมงต่องาน 8 งาน คิด
เป็น 22.5 นาทีต่องาน 1 งาน ส่วนการวางแผนการผลิตโดยโปรแกรมใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่องาน 8 งาน คิดเป็น
7.5 นาทีต่องาน 1 งาน สรุปได้ว่าการวางแผนการผลิตโดยโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นสามารถลดเวลาในการจัด
ตารางการผลิตได้ 33.34 %