กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินปัจจัยเชิงกลยุทธ์ด้านการขนส่ง

949

การใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์เพื่อประเมินปัจจัยเชิงกลยุทธ์ด้านการขนส่ง

ผศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง และ รุจิเรข พงษ์เจริญ
>> Download ebook <<

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและประเมินระดับความสำคัญของปัจจัย ที่มีผลต่อการตัดสินใจเชิงกล
ยุทธ์ด้านการขนส่งของผู้ขนส่งโดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการ
ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้านการขนส่งที่ได้จากกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ กับปัจจัยที่ผู้ขนส่งใช้ในการ
ตัดสินใจจริง โดยมีขอบเขตในการวิจัยครอบคลุมถึงผู้ทำการขนส่งขนาดเล็กและกลางทั้งหมดที่มีที่ตั้งสำนักงาน
ในเขตจังหวัดเชียงใหม่และจดทะเบียนกับพาณิชย์จังหวัดเชียงใหม่เป็นผู้ขนส่งสินค้าทางถนนจำนวนทั้งหมด 85
ราย
ปัจจัยที่นำมาพิจารณานี้ได้มาจากการสัมภาษณ์เบื้องต้นผู้ประกอบการขนส่งขนาดใหญ่ และขนาดกลาง
รวมถึงการค้นคว้าหาข้อมูลจากหนังสืออ้างอิง ซึ่งประกอบด้วย 9 ปัจจัยหลัก และ 44 ปัจจัย ปัจจัยทั้งหมดถูกใช้
ในการสำรวจผู้ประกอบการขนส่ง จากนั้นใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์กล่าวคือการเปรียบเทียบเชิงคู่
แล้วหาน้ำหนักคะแนนรวมเพื่อประเมินระดับความสำคัญ ข้อมูลที่ได้ผ่านการหาความไม่สอดคล้องกันทาง
เหตุผลโดยการหาค่าไอเก้น
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถจัดลำดับเกณฑ์หลักที่มีผลต่อกลยุทธ์ด้านการขนส่งได้ดังนี้ หลัก
ปรัชญาของบริษัท บุคลากร การบริการ แนวทางของบริษัท การส่งเสริมการตลาดและภาพพจน์ ราคา สถานที่
เทคนิค/เทคโนโลยี ความอยู่รอดการเติบโตและผลกำไร โดยมีน้ำหนักคะแนน 20.68% 15.49% 10.91%
10.64% 9.25% 8.77% 8.59% 8.06% และ 7.61% ตามลำดับและมีค่าความไม่สอดคล้องกันทางเหตุผล (ค่าไอ
เก้น) เท่ากับ 5.61% สำหรับเกณฑ์รองของแต่ละเกณฑ์หลัก สามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ เกณฑ์
รองของหลักปรัชญาของบริษัทได้แก่ การทำให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด การทำงานอย่างเชื่อถือ การตอบสนอง
อย่างรวดเร็ว และการรับงานตามความสามารถขององค์กร เกณฑ์รองของบุคลากรได้แก่ การสรรหาบุคลากร
การให้แรงจูงใจ การอบรมให้พนักงานมีความสามารถหลายด้าน การอบรมให้พนักงานมีความสามารถเฉพาะ
ทาง และการประเมินผลงาน เกณฑ์รองของแนวทางของบริษัทได้แก่ การร่วมมือกับผู้ขนส่งรายอื่นแบบพันธมิตร
การร่วมมือกับลูกค้า การจ้างผู้รับจ้างช่วง และการเป็นผู้รับจ้างช่วง เกฑณ์รองของการบริการได้แก่ การรับ
บริการขนส่งอย่างเดียว การบริการจากสถานที่ส่งจนส่งสถานที่รับ การบริการแบบครบวงจร และการบริการ
ตลอด 24 ชั่วโมง เกณฑ์รองของการส่งเสริมการตลาดและภาพพจน์ ได้แก่ การสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
การช่วยเหลือชุมชน การโฆษณา การมีภาพพจน์เป็นผู้นำตลาด และการส่งเสริมการขาย เกณฑ์รองของความ
อยู่รอดการเติบโตและผลกำไรได้แก่ การให้ส่วนลด การเจาะตลาดเดิม การให้สินเชื่อ การพัฒนาตลาด การเพิ่ม
ธุรกิจถอยหลัง การเพิ่มธุรกิจข้างหน้า และการเจริญเติบโตแบบแนวระนาบ เกณฑ์รองของราคาได้แก่ การตั้ง
ราคามาตรฐาน การกำหนดราคาแบบฉกฉวยเป็นลำดับ แบบรุกทะลวง แบบฉกฉวย เกณฑ์รองของเทคนิค/
เทคโนโลยีได้แก่ พาหนะขนส่งที่สามารถป้องกันสินค้าเสียหาย การออกแบบเครือข่ายการขนส่ง ระบบข้อมูลการตลาด เทคโนโลยีสาระสนเทศ การควบคุมความเร็วรถ (SW500) และการควบคุมการขนส่งด้วยระบบ
ติดตาม (GPS) เกณฑ์รองของสถานที่ได้แก่ ความสมดุลระหว่างขาไปและกลับ ที่ตั้งใกล้กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย
การเลือกส่งสินค้าในพื้นที่ที่ไม่มีผู้ขนส่งรายอื่นบริการอยู่ การบริการร้านสะดวกส่ง และการตั้งสาขาให้ครอบคลุม
ทุกพื้นที่