กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของการค้าลำไยแห้งผ่านชายแดนไทยสู่จีน

932

การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของการค้าลำไยแห้งผ่านชายแดนไทยสู่จีน

รศ. ชูศรี เที้ยศิริเพชร
>> Download ebook <<

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงสถานการณ์การค้า และโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิ
สติกส์ของการค้าและส่งออกลำไยแห้งผ่านชายแดนในภาคเหนือของไทยไปสู่จีน ผลการศึกษาพบว่า การส่งออก
ลำไยอบแห้งมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด แต่แนวโน้มการเพิ่มขึ้นในอัตราการขยายตัวที่ลดลง เนื่องจากมีการปลูก
ในจีนและมีคู่แข่งขันมากขึ้น เส้นทางเคลื่อนย้ายเพื่อส่งออกนิยมมากที่สุดได้แก่ เส้นทางน้ำผ่านแม่น้ำโขงโดย
เริ่มต้นจากแหล่งผลิตที่จังหวัดลำพูนขนส่งทางบกไปยังท่าเรือเชียงแสนไปขึ้นท่าเรือจิงหงในจีน แล้วขนส่งทาง
บกไปยังเมืองคุนหมิงเพื่อเก็บพักในคลังสินค้า ก่อนส่งไปตลาดค้าปลีกและค้าส่ง ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 7 วัน
เส้นทางนี้รับความนิยม เนื่องจากใช้เวลาน้อยกว่าและต้นทุนต่ำกว่า แต่สินค้ามีการขนย้ายหลายครั้งมีผลให้
สินค้าเสียหายง่าย เส้นทางรองได้แก่ เส้นทางผ่านทะเลจากท่าเรือคลองเตยไปยังท่าเรือฮ่องกงหรือเชี่ยงไฮ้ ก่อน
จะส่งต่อไปยังตลาดในประเทศจีน ใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 15-20 วัน เส้นทางนี้ใช้เวลามากกว่า และต้นทุนสูงกว่า
วิธีแรก แต่สินค้ามีความเสียหายน้อยกว่า และสามารถจำหน่ายได้ราคาสูงกว่า ทั้งนี้เส้นทางทางบกยังไม่มีการใช้
เนื่องจากเส้นทางผ่านพม่าไม่สะดวกในด้านกฎระเบียบและสภาพโครงสร้างถนนไม่ได้มาตรฐาน แต่หากเส้นทาง
ถนนผ่านลาวที่คาดว่าจะเสร็จในปี 2551 คาดว่าจะมีการใช้มากขึ้น โดยสรุปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้
เส้นทางการขนส่งและเส้นทางการขนส่งไปยังจุดหมายปลายทางที่แตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยหลัก คือแหล่งกำเนิด
สินค้าแตกต่างกัน ลูกค้าปลายทางต่างกัน รวมถึงต้นทุนการขนส่ง พิธีการส่งออกและระยะเวลาในการขนส่งที่
แตกต่างกันของแต่ละเส้นทาง