การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของการค้ายางพาราผ่านชายแดนไทยสู่จีน
ตติยา กองกิจ และ ผศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง
>> Download ebook <<
โครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การค้ายางพาราในอนาคต และทราบถึงโครงสร้าง
พื้นฐานด้านโลจิสติกส์ของการค้า การส่งออกยางพาราผ่านชายแดนภาคเหนือ ซึ่งในการศึกษาถูกแบ่งเป็น 2
ส่วน ในส่วนแรกคือ ศึกษาข้อมูลแนวโน้มสถานการณ์การค้ายางในอนาคต โดยใช้การพยากรณ์บนพื้นฐานของ
เวลา และ Delphi Methods ส่วนที่สองคือ การศึกษาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์โดยใช้กรอบแนวคิดของ
การจัดการ โลจิสติกส์ (Logistics Management) ผลการศึกษาสถานการณ์การค้ายางในอนาคตในทั้งข้อมูล
เชิงปริมาณ (Quantitative Data) และข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data) พบว่า การค้ายางพาราระหว่าง
ชายแดนไทย – จีน ยังคงมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบ Exponential Smoothing ในอนาคต 5 -10 ปี
ข้างหน้า ซึ่งในปี 2553 มีมูลค่าถึง 4,500 ล้านบาท เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ กลยุทธ์การเพิ่มการลงทุนด้าน
อุตสาหกรรมยานยนต์ของจีน และนโยบายการเพิ่มผลผลิตของไทยเป็นต้น ในส่วนของการเก็บข้อมูลพื้นฐาน
ด้านโลจิสตกส์ ผลที่ได้คือ เส้นทางการการกระจายยางพาราภายในประเทศผลผลิตจะมาจากทุกภาคของไทย
โดยเฉพาะทางภาคใต้ ซึ่งใช้เส้นทางถนนมายังชายแดนเป็นหลัก และผ่านชายแดนภาคเหนือระหว่างไทย-จีน
โดยใช้เส้นทางแม่น้ำโขงมากที่สุด ส่วนรูปแบบการค้าส่วนใหญ่จะผ่านตัวแทนการค้า (Trading Firm) ด้าน
ค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้าจากประเทศไทยสู่ประเทศจีนทางชายแดนประมาณ 7 บาทต่อกิโลกรัม จาก
การศึกษาข้างต้นทำให้มีการพัฒนารูปแบบแนวทางการประเมินประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ของการค้ายางพารา
โดยอาศัยปัจจัยต่างๆได้แก่ ปัจจัยด้านการขนส่ง ขนย้าย และการบรรจุ (Transportation, Packaging and
Handling Factors) หรือ ปัจจัยด้าน คลังสินค้า และการกระจายสินค้า (Warehousing and Distribution
Factors) เป็นต้น ทั้งนี้การค้าชายแดนยังคงมีอุปสรรคอยู่มากเนื่องจาก ระบบการจัดการการส่งออกยังไม่เป็น
มาตรฐาน อีกทั้งกฎหมาย และขั้นตอนการนำเข้าของประเทศจีนยังเป็นสิ่งที่ต้องมีการพัฒนาต่อไป