การศึกษาตัวแบบการกระจายสินค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
จิระเดช ดิษฐอำไพ, บุญศิริ ลิ่มสกุล, เสกสรร สุธรรมานนท์, นิกร ศิริวงศ์ไพศาล
>> Download ebook <<
ในปัจจุบันบริษัทหรือองค์กรรัฐบาลในระดับโลกต่างก็ใช้แนวคิดของโลจิสติกส์ (Logistics) และโซ่
อุปทาน (Supply Chain) มาเป็นกลยุทธ์หลักในการสร้างความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน โดยเฉพาะทางด้านการ
ดำเนินงานทางธุรกิจ จนทุกบริษัทในโลกปัจจุบันเห็นความสำคัญของโลจิสติกส์และโซ่อุปทานในเชิงกลยุทธ์
(Strategic) มากขึ้น โดยแต่เดิมเป็นแค่การดำเนินงานทางการขนส่งธรรมดาเกี่ยวกับรถบรรทุก รถไฟ เรือหรือ
เครื่องบิน แต่ปัจจุบันโลจิสติกส์ถูกมองว่าเป็นการขนส่งหรือการขนถ่ายและการเคลื่อนย้ายในทุกๆส่วนของ
กิจกรรมดำเนินงานในวงจรธุรกิจ ตั้งแต่การรับสั่งซื้อจากลูกค้า การจัดหาวัตถุดิบ การจัดส่งถึงโรงงาน การ
จัดการขนถ่าย การจัดเก็บ การผลิต การเคลื่อนย้ายระหว่างแหล่งผลิตไปยังแหล่งกระจายสินค้าและจนถึงมือ
ผู้รับ รวมถึงทั้งการส่งคืนและการกำจัดสินค้าเมื่อหมดอายุการใช้งาน
วัตถุประสงค์ที่มีความสำคัญอันดับแรกของการจัดการระบบโลจิสติกส์ในระบบธุรกิจ คือ การสร้าง
ประโยชน์จากเวลาและสถานที่ หรือ การสร้างคุณค่าโดยการนำสินค้าจากต้นกำเนิดไปสู่ที่ๆ มีความต้องการ
หน้าที่นี้ก็คือ การนำสินค้าจากแหล่งที่ถูกต้องในรูปแบบ จังหวะเวลา คุณภาพ ปริมาณที่ถูกต้องด้วยต้นทุนที่
พอเหมาะไปสู่สถานที่ที่ถูกต้อง
จังหวัดสุราษฎร์ธานีเป็นจังหวัดที่มีสภาพเศรษฐกิจที่ดีจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อีกทั้งยังมีศักยภาพ
ในเชิงภูมิศาสตร์ที่จะเป็นศูนย์กลางกระจายสินค้าของภูมิภาค ดังนั้นบทความนี้จึงทำการศึกษาตัวแบบการขนส่ง
สินค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อสำรวจอุปสงค์และอุปทานสินค้าสำคัญในจังหวัด และสร้างตัวแบบการขนส่งพื่อ
ให้ทราบต้นทุนการขนส่งสำหรับทำแผนกลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งในจังหวัดสุ
ราษฎร์ธานีต่อไป