การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ให้เป็นศูนย์กลางการบิน
ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม, ศักดิ์เกษม ระมิงค์วงศ์ และ สาลินี สันติธีรากุล
>> download ebook <<
ในการพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นศูนย์กลางการบินของภูมิภาคอินโดจีน นอกจากที่จะต้องมีสนามบิน
นานาชาติในระดับประเทศ ได้แก่ สนามบินดอนเมือง และสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีศักยภาพในการรองรับ
ปริมาณผู้โดยสาร และสินค้าต่างๆ ได้เป็นอย่างดีแล้ว จะต้องมีการพัฒนาสนามบินในระดับภูมิภาคต่างๆ ให้มี
ศักยภาพที่จะรองรับผู้โดยสารและปริมาณสินค้าที่เพิ่มขึ้น ที่เชื่อมโยงกับการพัฒนาของสนามบินระดับประเทศ
ในเขตภาคเหนือตอนบนมีสนามบินระดับนานาชาติ 2 แห่ง ได้แก่ สนามบินเชียงใหม่ และสนามบินเชียงราย ซึ่ง
เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมในการเป็นศูนย์กลางการบิน ทั้งในด้านความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์ ศักยภาพของ
ท่าอากาศยาน ได้แก่ พื้นที่ของสนามบิน ทางวิ่ง การรองรับผู้โดยสาร จำนวนหลุมจอด ช่องทางขึ้นเครื่อง และ
การรองรับสินค้าในคลังสินค้า พบว่าสนามบินเชียงใหม่มีความได้เปรียบและมีความพร้อมในการเป็นศูนย์กลาง
การบินมากกว่าสนามบินเชียงราย ดังนั้นภาครัฐจึงมีนโยบายที่จะพัฒนาสนามบินเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการ
บินระดับภูมิภาคในเขตภาคเหนือตอนบน
จากวิสัยทัศน์ในการพัฒนาสนามบินเชียงใหม่ให้เป็นศูนย์กลางการบิน ในการนำวิสัยทัศน์นี้ลงสู่การ
ปฏิบัติเพื่อให้ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ประกอบการเอกชนที่มีธุรกิจ
ที่จะเอื้อต่อการพัฒนาให้จังหวัดเชียงใหม่เป็นศูนย์กลางการบิน อันได้แก่ ผู้ประกอบการด้านธุรกิจการท่องเที่ยว
และผู้ประกอบการด้านธุรกิจขนส่ง บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) โดยความร่วมมือกับ ผู้ว่าราชการ
จังหวัดเชียงใหม่ ตัวแทนกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน จึงจัดสัมมนา เรื่อง “วิสัยทัศน์ ท่าอากาศยานสำหรับ
ชุมชน สู่การปฏิบัติ” เพื่อสนับสนุนการเป็นฐานและประตูด้านการค้า โครงข่ายคมนาคมเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศ
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) และเอเชียใต้ (BIMSTEC) ของกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน” ในวันที่ 20
พฤษภาคม 2549 ที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งผลจากการจัดสัมมนาในครั้งนี้ได้มีการเสนอโครงการต่างๆ ที่ควรจะมี
การดำเนินการเพื่อสนับสนุนให้ธุรกิจด้านการท่องเที่ยว และการขนส่งสามารถดำเนินการได้มีประสิทธิภาพมาก
ยิ่งขึ้น และเอื้อประโยชน์ต่อการเป็นศูนย์กลางการบินของสนามบินเชียงใหม่