กลุ่มงานวิจัยและโครงการ: การปรับปรุงผลการดำเนินงานโรงงานโดยการพัฒนาระบบการผลิตแบบเซลล์ กรณีศึกษาบริษัทผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง

646

การปรับปรุงผลการดำเนินงานโรงงานโดยการพัฒนาระบบการผลิตแบบเซลล์ กรณีศึกษาบริษัทผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูง

พิภพ ลลิตาภรณ์,อนันต์ มุ่งวัฒนา, เอกรัตน์ ขันดำรงรักษ์
>> Download ebook <<

สายการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงของบริษัทที่ใช้เป็นกรณีศึกษา ดังเดิมนั้น มีลักษณะรูปแบบการ
ผลิตแบบไหล (Flow Shop) หรือสายการผลิต (Production Line) โดยมีการจัดวางเครื่องจักรของแต่ละหน่วย
ผลิตไปตามขั้นตอนของกระบวน การผลิต จากสถานีงานเริ่มต้นจนถึงสถานีงานสุดท้าย ต่อกันไปแบบอนุกรม
โดยแต่ละสถานีงานจะมุ่งเน้นผลิตให้ได้จำนวนชิ้นงานตามแผนการผลิตที่กำหนดไว้ และคำนึงถึงประสิทธิภาพ
สูงสุดในหน่วยผลิตที่ตัวเองรับผิดชอบ หน่วยผลิตใดสามารถผลิตได้เร็วกว่าหน่วยผลิตอื่นก็จะส่งชิ้นงานรอให้
สถานีงานถัดไปนำไปผลิตต่อ นอกจากนั้นยังขาดการประสานงานของแต่ละหน่วยผลิต เมื่อหน่วยผลิตหนึ่งเกิด
การขัดข้องต้องหยุดผลิตเพื่อแก้ไขปัญหา หน่วยผลิตที่อยู่ก่อนหน้าก็ยังคงป้อนงานเข้ามาตามแผนของตน จึง
เป็นสาเหตุให้มีชิ้นงานเข้ามาวางรออยู่หน้าหน่วยผลิตแต่ละหน่วยเป็นจำนวนมาก และถ้าชิ้นงานที่ส่งเข้ามามี
ข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไขด้วยแล้ว ทำให้เสียเวลาส่งผลให้การผลิตล่าช้า บ่อยครั้งที่ทำให้การส่งมอบไม่ทันตาม
กำหนดของลูกค้า
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้มุ่งพัฒนาและปรับปรุงสายการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าของบริษัทดังกล่าวให้
สามารถไหลไปทีละชิ้นในแต่ละสถานีงานอย่างสมดุล และด้วยอัตราที่สอดคล้องกับสถานีงานที่เป็นคอคอดของ
กระบวนการผลิต(Bottleneck work station) โดยการประยุกต์แนวคิดของระบบผลิตแบบเซลส์ (Cellular
Manufacturing System) และ การจัดสมดุลสายการผลิต ในการจัดงานในแต่ละสถานีงาน ทำให้การผลิตของ
แต่ละสถานีงานมีความสมดุล มีรอบเวลาผลิตที่ใกล้เคียงกันทุกสถานี และเพื่อควบคุมให้การดำเนินงานสามารถ
ดำเนินไปได้อย่างสม่ำเสมอ จึงได้จัดให้มีสัญญาณแจ้งเตือนรอบการผลิตและสัญญาณแจ้งเตือนเมื่อพบปัญหาใน
ระหว่างการผลิต รวมถึงจัดทำ ชุดมาตรฐานการปฏิบัติงานของแต่ละสถานีตามรุ่นของหม้อแปลงแต่ละรุ่น เพื่อให้
ผู้ปฏิบัติงานสามารถเรียนรู้และนำมาใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างรวดเร็ว และสอดคล้องกับรอบเวลาผลิตที่
กำหนดไว้สำหรับหม้อแปลงแต่ละรุ่น
ผลการพัฒนาและปรับปรุงสายการผลิตให้มีความสมดุล และเป็นสถานีงานแบบ เซลล์ ทำให้ช่วงเวลา
นำการผลิต(Lead Time)ลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ และ ประสิทธิภาพการใช้งานเครื่องจักร
(Utilization)สูงขึ้นมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ งานระหว่างผลิตในแต่ละสถานีงานลดลงโดยเฉลี่ยมากกว่า 22 เปอร์
เซ็นต์ นอกจากนั้นยังส่งผลให้เวลาในการเตรียมการผลิตสำหรับหม้อแปลงรุ่นใหม่ลดลงถึง 90 เปอริ์เซ็นต์ (จาก
40 ชั่วโมง เหลือเพียง 4 ชั่วโมง) ขณะเดียวกันทำให้งานด้านการบริหารการผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถ
ควบคุม ติดตาม และรับรู้ความก้าวหน้าของการผลิตได้ง่ายและรวดเร็ว มีความประสานงานและร่วมมือกันใน
ระหว่างสายการผลิตมากขึ้น