การนำระบบการจัดซื้ออิเลคทรอนิคส์ (E-Procurement) มาใช้ในองค์กร: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ลินดา ไชยนิรมิตกุล, อังกูร ลาภธเนศ
>> Download ebook <<
รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการจัดซื้อของมหาวิทยาลัย โดย
ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและผลกระทบของปัญหาที่มีต่อองค์กร และทำการศึกษาสาเหตุของ
ปัญหาการจัดซื้อล่าช้า โดยการพิจารณาดูว่าสาเหตุของปัญหาการจัดซื้อล่าช้ามีสาเหตุจากอะไร เพื่อค้นหา
สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา และสามารถกำหนดแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาของมหาวิทยาลัยได้ จากการศึกษา
ระบบ e-Procurement ในส่วนของระบบ e-Auction ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สามารถลดระยะเวลาในการ
จัดซื้อจากแบบเดิมได้ถึง 5 วัน และจากการทำโครงการนำร่องในการประมูลผ่านเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์
จำนวน 6 รายการ นั้น สามารถประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 3,334,000.-บาทหรือคิดเป็นร้อย
ละ 20.80 ของวงเงินงบประมาณ และผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์ระบบ e-procurement มาใช้กับมหาวิทยาลัย
หอการค้าไทยโดยการจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม AWESIM 3.0 ผลการวิจัยปรากฎว่าสามารถลดขั้นตอน
การทำงานจาก 7 ขั้นตอนเหลือ 6 ขั้นตอน และระยะเวลาในการดำเนินงาน 6 วัน ซึ่งสามารถประหยัดต้นทุนใน
การดำเนินงาน 25,981.84 บาท / การประมูล 1 ครั้ง จากการศึกษาปัญหาข้างต้น สรุปได้ว่า ปัญหาการจัดซื้อ
ล่าช้าของมหาวิทยาลัยนั้น ถ้านำเอาระบบ e-Procurement เข้ามาช่วยในการแก้ไขปัญหา จะทำให้สามารถ
ช่วยลดขั้นตอนการดำเนินการที่ซับซ้อน เพิ่มความถูกต้องในการดำเนินงาน และช่วยลดรอบเวลาในการจัดซื้อ
จัดหาขององค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทั้งภายในและภายนอกองค์กร