โครงการ การสร้างเครือข่ายการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงข้อมูลของเกษตรกรและชุมชน กรณีศึกษา:โซ่อุปทานลำไยนอกฤดู
ผศ.ดร.อภิชาต โสภาแดง และคณะ
>> Download ebook <<
งานวิจัยนี้มุ่งเน้นการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ด้านลำไยที่เกิดขึ้นในโซ่อุปทานโดยอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ผ่านการพัฒนาฐานข้อมูล และการพัฒนาความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ซึ่งกัน และกัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจและดำเนินงาน รวมทั้งการเพื่อพัฒนาโปรแกรมการพยากรณ์ปริมาณการผลิตลำไยนอกฤดู ซึ่งจะ สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกลุ่มเกษตรกร
ทั้งนี้ โครงการเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกกลุ่มเกษตรกรตัวอย่าง โดยแบ่งกลุ่มเกษตรกรออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มเกษตรกร ตำบลป่าไหน่ อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ 2) กลุ่มเกษตรกรบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ และ 7) กลุ่มเกษตรกร บ้านสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 65 ราย (ข้อมูลถึงวันที่ 28 มีนาคม 2553) โดยทำการเก็บข้อมูลทั้งสิ้น 4 ส่วน ได้แก่ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้ปลูก 2) เทคนิคการดูแลรักษาลำไย 3) สิ่งแวดล้อมของสวนล3ไย และ 4) ผลผลิต โดยได้นำข้อมูลดังกล่าวมาจัดสร้างเป็นฐานข้อมูล เพื่อประกอบการคำนวณการพยากรณ์ผลผลิตลำไย โดยนักวิจัย ได้พัฒนาตัวแบบการพยากรณ์ คำนวณผ่านกลไก Fuzzy Neural Network เพื่อพยากรณ์ปริมาณผลผลิต ที่จะเกิดจากการใส่สาร
ใน ส่วนของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำมาใช้ในการประมวลผล แสดงผล และรับส่งข้อมูลข่าวสาร ประกอบไปด้วย ระบบอินเตอร์เน็ตและเว็ปไซต์ www.thailongan.net ซึ่งมีหน้าที่จัดเก็บฐานข้อมูล นำเสนอข่าวสารข้อมูล ประมวลผล และ จัดการระบบ ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก และเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ซึ่งใช้ในการระบุและแสดงผลตำแหน่งของ สวนลำไย และระบบบริการข้อความสั้น ซึ่งใช้ในการติดต่อกับเกษตรกร ทั้งการให้ข้อมูล ข่าวสาร และการรับข้อมูลการใส่สารของ เกษตรกร
โดย หลักการการทำงานเบื้องต้นของระบบ คือ การที่ระบบพยากรณ์นำข้อมูลเกษตรกรมาคำนวณผ่านกลไก Fuzzy Neural Network เพื่อพยากรณ์ปริมาณผลผลิต ที่จะเกิดจากการใส่สาร ทั้งนี้ การให้ข้อมูลของเกษตรกร เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูล โดยเฉพาะการระบุวันใส่สาร สามารถทำได้ทั้งในเวปไซต์และการใช้บริการข้อความสั้น (Short Message Service: SMS) รวมทั้ง แจ้งข้อมูลผ่านเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในโครงการ (เจ้าหน้าที่ของ อบต. อบท. ในต่ละพื้นที่) ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่ายของ โครงการ (ติดตั้ง ณ อบต. อบท. ในแต่ละพื้นที่) โดยระบบจะทำการปรับแก้ข้อมูลโดยอัตโนมัติและปรับปรุงการพยากรณ์ภายใต้เงื่อนไขการใส่สาร ทำให้สามารถทราบถึงปริมาณผลผลิตของสวนนั้นๆ และปริมาณผลผลิตของพื้นที่ได้